นักวิชาการด้านการศึกษาเสนอให้แต่ละโรงเรียนถอดบทเรียนการช่วย 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เพื่อให้เด็กรู้จักประเมินความเสี่ยงและเอาตัวรอดเมื่ออยู่ในภาวะคับขัน

เหตุการณ์หรือภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นมา เราคิดวางแผนล่วงหน้าในการจัดการศึกษาอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาอย่างไร หรือจัดกิจกรรมอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบท เช่น จ.เชียงราย มีภูมิประเทศ เป็นถ้ำ เป็นน้ำตก ป่าเขาซึ่งโรงเรียนควรจัดหลักสูตรการศึกษาโดยนำลักสูตรแกนกลางไปปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่” นิจสุดา อภินันทาภรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.ระบุ

วิธีการเอาตัวรอดในรูปแบบต่างๆ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ภัยพิบัติที่แตกต่างกันไป ถ่ายทอดผ่านภาพวาดการ์ตูน เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย และรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำขึ้น เพื่อให้แต่ละโรงเรียนนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเน้นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา ซึ่งแต่ละหลักสูตรจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงชั้น เพื่อให้เด็กรู้เท่าทันกับสถานการณ์

ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เหตุการณ์ที่น้องๆ ติดถ้ำทั้ง 13 คน มันคือโอกาสที่เราจะต้องเรียนรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น สังคมไทยควรจะเรียนรู้อะไร เด็กประถม มัธยม ควรที่จะเรียนรู้อะไรผ่านเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงการเอาข่าวมาคุย ต้องรู้ว่าชุมชนเรา แหล่งท่องเที่ยวใดที่มีความเสี่ยงบ้าง และมีความเสี่ยงอะไรบ้างและเมื่อเกิดขึ้นจะทำอย่างไร Safety Education สวัสดิศึกษา

ปฏิบัติการกู้ภัยช่วยเหลือเด็กและโค้ชทีมหมูป่า เป็น 1 ในตัวอย่าง ที่นักวิชาการด้านการศึกษา เสนอให้แต่ละโรงเรียนถอดบทเรียนจากกรณีนี้ เพื่อให้เด็กได้รู้จักประเมินความเสี่ยง และเอาตัวรอดเมื่อตกอยู่ในภาวะคับขัน

หัวใจสำคัญในการสอนอะไรพวกนี้ ต้องเอาชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง หลายประเทศให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อม ที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศญี่ปุ่นในการเตรียมพร้อมพิบัติภัยทุกรูปแบบ มีการซักซ้อมว่าจะเอาตัวรอดอย่างไรได้ แล้วไม่ใช่ที่โรงเรียนจัดเท่านั้นมีการจัดที่บ้าน จัดที่ชุทมชนด้วย เป็นวัฒนธรรมที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้น ต้องมีมาตรการในการรองรับ โรงเรียยนไม่ควรจะสอนเพียงความรู้ ต้องมีโอกาสทำในสถานการณ์จำลองมีโอกาสซิมูเลชั่นจำลอง” ผศ.อรรถพล ระบุ

การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง โดยเอาชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง เป็นสิ่งที่ต้องสอนเด็ก ไม่ใช่เฉพาะการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังต้องผสานความรู้กับชุมชน เพื่อร่วมกันจัดทำแผนความเสี่ยงจากภัยพิบัติด้วย

ขณะนี้ สพฐ.อยู่ระหว่างจัดทำแนวทางการจัดการภัยพิบัติทางน้ำและทางทะเล เพื่อให้โรงเรียนที่มีภูมิศาสตร์ลักษณะนี้ นำไปต่อยอด เพื่อติดอาวุธทางความคิดให้กับเด็กๆ เพื่อให้เอาตัวรอดได้เมื่อเกิดสถานการณ์ไม่คาดคิดได้อย่างมีสติ

 


แหล่งข้อมูล :  ThaiPBS


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …