จากกรณีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2561 ของปีที่ผ่านมา หลังจากชาวบ้านบ้านหนองกุงน้อย หมู่ที่ 10 ต.โคกกระเบื้อง อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมาว่า มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้นกลางทุ่งนา คือมีดินผุดขึ้นมาเป็นเนินสูงตรงกลางมีรอยแตกของดินมีโคลนเหลวๆ ผุดขึ้นเหมือนเป็นลาวาค่อยๆ ไหลลงตามพื้นราบโดยรอบโดยมีชาวบ้านบางคนเข้าไปกดดินที่นูนสูงขึ้นมานั้น ปรากฏว่าดินกระเพื่อม เหมือนคลื่นในน้ำ คาดว่า หลุมมีความลึกมาก อีกทั้งจากการตรวจสอบพบว่าพื้นผิวบริเวณนี้ มีดินผุดเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนหลายจุด

เครดิตภาพ : INNnews

ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านเลยต้องปิดล้อมพื้นที่ป้องกันเด็กและสัตว์เลี้ยงเข้ามา เพราะเกรงว่าอาจจะเกิดอันตรายได้ แต่ปัจจุบันดินผุดเหล่านี้ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง และโคลนผุดขึ้นมาตลอดเวลา จนเป็นที่แปลกใจของชาวบ้าน

เครดิตภาพ : INNnews

เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 8 ก.พ.62 พบว่า มีลาวาโคลนผุดขึ้นมาเพิ่มอีก จำนวน 4 จุด ทำให้ ประชาชนและนักท่องเที่ยว ต่างเดินทางมาชมความแปลกประหลาด ของนาวาโคลน กันเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก เป็นปรากฏการที่แปลกไม่มีใครเคยพบเห็นมาก่อน ที่แปลกไปกว่านั้น นาง ฉัตรพร วันหนองสา อายุ 54 ปี ชาวบ้านรายหนึ่งบอกว่า พบก้อนหินมีลักษณะคล้ายกับ กุมารทอง โผล่ขึ้นมาบริเวณปากบ่อของลาวาโคลน ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลก ตนเองเชื่อว่า น่าจะเป็นรูปปั้นของกุมารทองมาให้โชคลาภ กับคนในชุมชน จึงได้นำไปกราบไหว้บูชา ส่วนนายวันนา ภัยนอก อายุ 47 ปี ชาวบ้านบ้านหนองกุงน้อย นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ชาวบ้านในพื้นที่ มีเงินสะพัดเพิ่มมากขึ้น หลังจากมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมนาวาโคลน แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชาวโคราช

เครดิตภาพ : INNnews

ขณะที่ ผศ. ดร.อัฆพรรค์ วรรณโกมล หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เผยว่า โคลนผุดดังกล่าว น่าจะเป็นการไหลทะลักขึ้นมาของน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นการปรับสมดุลแรงดันของน้ำใต้ดิน และจากที่เห็นน้ำโคลนที่ผุดออกมาก็ไม่มีความร้อนแต่อย่างใด จึงไม่เกี่ยวข้องกับความร้อนใต้พิภพ ซึ่งในช่วงฤดูแล้งน้ำโคลนก็จะลดแรงดันลง และหยุดไปเอง

เครดิตภาพ : ตระเวนข่าว3

ด้านนายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ปรากฏการณ์โคลนผุด เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดจากมีแรงดันน้ำใต้ดินทำปฏิกิริยากับหินผุ จนเกิดเป็นแร่ดินชนิดหนึ่ง ขยายตัวประมาณ 5-30 เท่า จนกลายเป็นดินโคลนดันขึ้นมาตามรอยแตก ที่ผ่านมาเคยเกิดขึ้นมาแล้วในภาคอีสาน เช่น จ.หนองบัวลำภู และ จ.ชัยภูมิ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความร้อนใต้พิภพ หรือสิ่งลี้ลับ

ทั้งนี้ ยังไม่มีหน่วยงานใดนำตัวอย่างดินโคลนไปศึกษาอย่างจริงจังว่าดินชนิดนี้ สามารถนำไปใช้งานอื่นได้หรือไม่ พร้อมฝากเตือนประชาชน โคลนดังกล่าวมีความเป็นด่าง หากโดนผิวหนังอาจทำให้ระคายเคืองหรือคันได้ และอย่าเดินไปใกล้บริเวณที่ดินโคลนอ่อนนุ่ม เพราะใต้โคลนมีความลึกถึง 3 เมตร อาจเกิดอันตรายได้

 


แหล่งข้อมูล : Innnews


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …