9 ขั้นตอนเริ่มต้นวิเคราะห์ธุรกิจ

ในขณะที่เมืองโคราชกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลายๆคนมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจของตนเอง เพื่อรองรับความต้องการของคนโคราชที่มีมากขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าไอเดียธุรกิจของคุณ คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ วันนี้เรามาเริ่มต้นวิเคราะห์ธุรกิจง่ายๆด้วยเครื่องมือที่นักการตลาดเขาใช้กัน นั้นก็คือ “Business Model Canvas” เครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์ธุรกิจของคุณ

S__46899222

1.คุณค่าของสินค้าหรือบริการ: Value Proposition

สินค่าหรือบริการของเรานั้นต้องนำเสนอคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ ต้องสามารถระบุได้ว่าสินค่าของเรามีดีอย่างไรและสามารถให้อะไรกับลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของเรา เช่น สินค้าของเราใช้งานง่าย,ความแปลกใหม่ของสินค้า

2.ลูกค้า: Customer Segments

ลูกค้าของเราเป็นใคร? เราจะต้องมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนว่าลูกค้าของเราคือกลุ่มไหน และต้องถามหรือศึกษาลูกค้าว่าเขามีความต้องการเดียวกับสินค้าหรือบริการของเราจริงๆ เพื่อเราจะได้ขายสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

3.พันธมิตร: Key Partnerships

กิจกรรมหลักบางอย่างเราไม่สามารถทำได้เอง หรือมีคนอื่นที่ทำได้ดีกว่า เราจึงต้องหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ เช่น การจ้าง supplier หรือการหาคนร่วมหุ้นเพื่อพัฒนาธุรกิจ

4.ช่องทางการเข้าถึง: Channels

ช่องทางไหนที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้บ้าง โดยจะต้องให้ความสำคัญทั้งช่องทางการสื่อสาร และช่องทางการส่งมอบสินค้าไปถึงมือลูกค้าด้วย

5.ความสัมพันธ์กับลูกค้า: Customer Relationships

ธุรกิจจะต้องสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในแบบไหนบ้าง ซึ่งแต่ละกลุ่มเป้าหมายก็จะมีรูปแบบการรักษาความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไป

6.ทรัพยากรหลัก: Key Resources

ทรัพยากรของบริษัทมีความสำคัญต่อการทำให้แผนธุรกิจสำเร็จ ซึ่งหมายถึงทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว และจำเป็นต้องมี ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุน หรือว่าเครื่องจักร เทคโนโลยีต่างๆ ก็ตาม ซึ่งรวมไปถึงทรัพยากรบุคคลด้วย

7.กิจกรรมหลัก: Key Activities

งานหลักของธุรกิจคืออะไร เช่น การผลิต การให้บริการ การจัดงานเลี้ยง การสร้างเครือข่าย ยกตัวอย่าง ธุรกิจรับจัดโต๊ะจีน กิจกรรมหลักคือจะต้องทำอาหารจำนวนมากเป็นต้น

8.รายได้หลัก: Revenue Streams

หมายถึงรูปแบบของรายได้ที่ธุรกิจจะได้รับกลับมา ซึ่งเราจะต้องมองให้ออกว่ารายได้จะเช้ามาด้วยวิธีการใด เช่น ค่าสมาชิก ค่าเช่าสัญญาณ ค่าสินค้า ค่าบริการ รวมไปถึงค่าโฆษณาด้วย

9.โครงสร้างต้นทุน: Cost Structure

ในแต่ละธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะมีทั้งรายจ่ายที่คงที่และไม่คงที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดด้วยเช่นกัน เมื่อนำรายจ่ายเหล่านี้ไปลบกับ revenue streams ผลลัพธ์ที่ได้คือผลประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับกลับมา

 


บทความโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์

สาขาวิชาการจัดการผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Management)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 


Comments are closed.

Check Also

เปิดวาร์ป!! พาออเจ้าย้อนรอยประวัติศาสตร์โคราชบ้านเอ็ง @พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

หลังจากกระเเสละคร “บุพเพสันนิวาส” ได้รับกระ … …