ทุ่มงบประมาณกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ผลักดันการก่อสร้างรถไฟรางคู่ขนาด 1 เมตร จิระ-อุบล รฟท.เปิดรับฟังความเห็นครั้งที่ 2 พร้อมชูจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางราง คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 4 ปี เริ่มตอกเสาเข็ม ต้นปี 2560 แล้วเสร็จปี 2564

145668555

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00 น. ณ ห้องซิตี้พาร์คแกรนด์บอลรูม โรงแรมซิตี้พาร์ค จังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 2 งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เพื่อนำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าการศึกษาโครงการในด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีประชาชนและตัวแทนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

โครงการรถไฟทางคู่จิระ-อุบลราชธานี เป็นโครงการก่อสร้างทางคู่ขนาด 1 เมตร ระยะทาง 305  กิโลเมตร โดยยึดแนวตามเส้นทางรถไฟเดิมที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างอยู่แล้ว มีจำนวนสถานีตลอดเส้นทาง 34 สถานี โดยขบวนรถสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160กม./ชม.

1998857

การก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางนี้ มีแนวทางแก้ปัญหาจุดตัดทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟในแนวตรง (Overpass) 2.ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟในลักษณะรูปตัวยู (U-Shape Overpass) 3.ท่อเหลี่ยมลอดใต้ทางรถไฟ (Box Culvert) 4.ยกระดับทางรถไฟ (Elevated Railway) และก่อสร้างรั้วกั้นตลอดแนวเขตทางรถไฟ เพื่อป้องกันคนหรือสัตว์ข้ามทางรถไฟตัดหน้าขบวนรถ

นอกจากนี้ได้แบ่งรูปแบบการให้บริการ ได้แก่ 1.บริการรถโดยสารทางไกลด้วยขบวนรถด่วนพิเศษและขบวนรถด่วนขบวนรถเร็ว 2.บริการรถโดยสารทางใกล้ด้วยขบวนรถไฟท้องถิ่นและขบวนรถธรรมดา

จากคาดการณ์ปริมาณจำนวนผู้โดยสารเดินทางโดยรถไฟจาก จ.นครราชสีมา-อุบลราชธานี ปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 3.53 ล้านคน/ปี เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.2569 คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มเป็น 7.838 ล้านคน /ปี ในปี พ.ศ. 2579 เพิ่มเป็น 9.360 ล้านคน/ปี และในปี พ.ศ. 2598 เพิ่มเป็น  12.620 ล้านคน/ปี อีกทั้งช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากเดิม 5 ชม. 30 นาที เป็น 3 ชม. 15 นาที และจากผลคาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้า ตลอดแนวเส้นทางโครงการ ปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 108,000 ตัน/ปี เมื่อโครงการแล้วเสร็จในปี พ.ศ..2569 จะมีปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 941,800 ตัน/ปี ในปี พ.ศ..2579 เพิ่มเป็น 1,158,000 ตัน/ปี และในปี พ.ศ..2598 เพิ่มเป็น 1,553,200 ตัน/ปี โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น ข้าวสาร มันสำปะหลังแปรรูป น้ำตาล รวมถึงสินค้าในกลุ่มซีเมนต์

 

 

ข้อมูลประกอบ : PRD นครราชสีมา


Comments are closed.

Check Also

มอเตอร์โชว์โคราช จัดยิ่งใหญ่ที่สุดในอีสาน 29 มี.ค. – 6 เม.ย. 67 ที่เดอะมอลล์โคราช

ปีนี้ต้องออกรถใหม่ป้ายแดง รถเยอะสุดตั้งแต่จัดมา มอเตอร์ … …