นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ไปปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนการคิดอัตราค่าโดยสารสายการบินให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง เพราะต้นทุนเดิมบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2553 รวมทั้งให้จัดทำโครงสร้างต้นทุนค่าโดยสารสายการบินโลว์คอสต์ แยกออกจากสายการบินฟูลเซอร์วิส เนื่องจากปัจจุบันใช้เพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุด ไม่เกิน 13 บาท/กม. เหมือนกัน ขณะที่การให้บริการพื้นฐานบนเครื่องบินมีความแตกต่างกัน ซึ่งการให้แยกการคิดต้นทุนก็เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการถูกเอาเปรียบในการคำนวณค่าโดยสาร

Credit : LiveShareTravel

นอกจากนี้ ให้ กพท.กำชับให้สายการบินไม่ให้นำภาระค่าภาษีน้ำมันสรรพสามิตที่ถูกเรียกเก็บเพิ่ม แยกออกมาต่างหากจากค่าโดยสารเช่นปัจจุบัน แต่ให้สายการบินนำค่าภาษีน้ำมันสรรพสามิตไปบวกรวมกับค่าโดยสารเลย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนของสายการบิน ซึ่งทำให้ กบร. สามารถใช้อำนาจในการเข้าไปกำกับและดูแลการบริหารจัดการได้ ส่วนกรณีที่หลายสายการบินปรับค่าโดยสารกรณีรัฐขึ้นภาษีน้ำมันสรรพสามิตที่ผ่านมาในอัตรา 150 บาท/ที่นั่งนั้น ถือว่าสมเหตุสมผล เพราะยังปรับขึ้นน้อยกว่าอัตราผลกระทบเฉลี่ยที่อยู่ระหว่าง 150-204 บาท/ที่นั่ง

Credit : King Power

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวว่า กบร.มองว่าควรจะกำหนดเพดานอัตราค่าโดยสารโลว์คอสต์แยกออกต่างหาก ซึ่งจะทำให้เพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดของสายการบินโลว์คอสต์ ลดต่ำลงกว่า 13 บาท/กม. ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารสายการบินโลว์คอสต์ถูกลงกว่าเดิมแน่นอน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถประกาศราคาใหม่ได้ก่อนกลางปีนี้แน่นอน

นอกจากนี้ กบร.ยังได้อนุมัติแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน แผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน แผนอำนวย-ความสะดวกด้านการบินพลเรือนแห่งชาติ เพื่อเตรียมรับมือกรณีที่องค์การ-การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) จะเข้ามาตรวจสอบด้านการกำกับดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยสนามบินของไทยในเดือน ก.ค.นี้.

 

แหล่งข้อมูล : ไทยรัฐออนไลน์


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …