โลก

world-economy-580

Credit : www.rbs.com

 

  • 2559 เป็นปีแห่งความไม่ชัดเจนทั้งโลก
  • US ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องไปอีก 4 ปี เป็นการใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นเพื่อควบคุมการขึ้นของ bond yield ระยะยาว ให้ขึ้นแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” ไม่กระชากตลาด ถ้าไม่ใช้ yield จะกระชากขึ้น ราคา bond จะตกแบบกระชากได้
  • QE ที่ US ช่วงที่ผ่านมา ไล่ซื้อ bond US และทั่วโลกที่มีความมั่นคงสูง ทำให้ประชาชนต้องขยับไปซื้อหุ้นที่มีความมั่นคงต่ำกว่า (higher risk) ทั้งในประเทศและนอก ผลคือหุ้นขึ้นทั้งโลก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเอกชนออกไปลงทุน กล้า take risk ขึ้น ไม่มีบอนด์ให้ซื้อ
  • หมดยุค QE จาก US -> ไม่มีคนคุม yield bond -> yield ของบอนด์จะขึ้น/ ราคาบอนด์ตก -> หุ้นหลังจากนี้จะไม่วิ่งขึ้นเหมือนที่ผ่านมา
  • หนี้ทั้งโลกเพิ่มขึ้น
  • ปี 2000-2015 โลกแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มหนี้ หนี้ที่โตมากคือหนี้ภาครัฐ + เอกชน
  • บริษัทในจีนหนี้สูงขึ้นมาก
  • 2016++ ความเสี่ยงคือการล้มละลายของบริษัทเอกชนใน emerging market โดยเฉพาะจีน
  • อีกมุมนึงของหนี้ที่โต กำลังการผลิตโตตามด้วย จีนผลิตเหล็ก (และวัตถุดิบอื่นๆ) โดยเชื่อว่าจีนมี demand อยู่ 40-50% ของโลก (แต่ GDP จีนเพียง 15% ของโลก)
  • นักวิเคราะห์มองว่านี่คือ oversupply มีความเสี่ยงที่หลายบริษัทจะล้มละลาย
  • เงินหยวนเป็นสกุลเงินโลกสำเร็จ (SDR) ได้ภาพลักษณ์น่าเชื่อถือ แต่แนวโน้มเงินหยวนจะยังอ่อนลง ที่ผ่านมาลดดอกเบี้ย 6 ครั้ง + ลดเงินสำรอง -> เงินจะออกประเทศมากขึ้น
  • ผลคือเงินบาทอ่อนลงตาม trend โลก
  • สังคมสูงอายุมากขึ้น
  • ธุรกิจใหม่ที่เติบโต (p/e สูง) เป็นธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรน้อย แต่สร้างงานน้อยเช่นกัน เช่น Alibaba, Facebook เป็นเทคโนโลยีออนไลน์ ไม่ได้สร้างมูลค่าและงานเพิ่มให้กับ real sector เช่น brick & mortar

 

น้ำมัน

large_article_im3285_Worldenergy

Credit : www.energydigital.com

 

  • ราคาน้ำมันลงที่ผ่านมา เพราะ demand เติบโตน้อยลง ผลิตเท่าเดิมทุกปี แต่คนใช้น้อยลง (แต่สำหรับไทยถือว่า + มากกว่า – เพราะต้นทุนต่ำลง)
  • ประเทศตะวันออก supply น้ำมันออกมาเรื่อยๆ เพราะ stock เหลืออยู่มาก มี risk ที่คนจะใช้น้ำมันน้อยลง ไปใช้พลังงานอื่นในอนาคต
  • ยุคหินไม่ได้จบเพราะหินหมด แต่เพราะคนเลิกใช้หิน ทุกวันนี้หินเต็มโลก น่าคิดว่าน้ำมันจะเป็นอย่างไร

 

ไทย

economic2016_cover

Credit : www.cnbc.com

 

  • 2016 GDP โต 3.2%
  • เศรษฐกิจโต แต่โตน้อยๆ
  • ไทยเรายังแข็งแรงอยู่ เกินบัญชีดุลสะพัด (รายจ่ายน้อยกว่ารายได้) ถือเป็น strength ณ ตอนนี้
  • แต่ด้านลบคือ รายจ่ายน้อยเพราะ demand ลด
  • รัฐบาลทำอะไรอยู่?
  1. ระยะสั้น: กระตุ้นสิ่งที่มีอยู่ ระบายสตอคอสังหา, SME, กองทุนหมู่บ้าน
  2. ระยะกลาง: รัฐลงทุน รถไฟรางคู่, รถไฟฟ้า, มอเตอร์เวย์ เริ่มครึ่งปีหลัง 2016, ทำ BOI, superclusters (10 เขตนิคมฯพิเศษแบ่งตามอุตสาหกรรม) เพื่อเรียกความมั่นใจให้เอกชนออกมาลงทุน
  • รัฐหวังว่า ท่องเที่ยวโตต่อ ส่งออกโตบ้าง และกระตุ้น G (6%) + ท่องเที่ยว (11%) + I (20%) = 37% of GDP สำเร็จ
  • บริโภค (C) โตไม่เท่า GDP เพราะยังอยู่ในช่วงหนี้ครัวเรือนโตอยู่ บริโภคโตมาก หนี้จะไม่ลง

           NPL โตที่ผ่านมายังไม่น่าห่วงเท่า SML โต

           NPL = เบี้ยวหนี้ 3 เดือน bank ตั้งสำรองไว้

           SML = เบี้ยว 1 เดือน bank จะยังไม่ตั้งสำรอง

  • ที่น่าห่วงเพราะ bank จะช่วยอุ้มเพราะไม่อยากหาลูกหนี้ใหม่ แนวโน้มปล่อยกู้ใหม่ยากขึ้น ยอมแบกภาระหนี้เก่า
  • 2017 คาดว่าหนี้ครัวเรือนเริ่มลด
  • 2 ความไม่แน่นอน = 1. เศรษฐกิจโลก 2. ความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง
  • นักลงทุนระยะยาวไทยและเทศต้องการความชัดเจน จึงจะมั่นใจ
  • ไตรมาศ 2 ปี 2016 แย่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากภัยแล้ง อยู่ใน Low Season ของการท่องเที่ยว และความไม่แน่นอนทางการเมือง ถ้าประชามติผ่านช่วง กค 2016 ขรก.จะเริ่มเกียร์ว่าง รอการเปลี่ยนผ่านการเมือง
  • ไตรมาศ 3-4 อาจจะดีขึ้น

 

AEC

20140401121021

Credit : en.aectourismthai.com

 

  • Vietnam ดูดีที่สุด โตสุด หนุ่มสาวเยอะ มีแต่เรื่องเงินเฟ้อและ NPL บ้าง
  • Malaysia, Indonesia บัญชีเดินสะพัดขาดดุล
  • Philippines, ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง
  • Cambodia, ok
  • Myanmar, new era ที่น่าห่วงคือพรรคอองซานได้คะแนนท่วมท้น แต่ไม่เคยมีประสบการณ์บริหารประเทศมาก่อน + เริ่มมี bubble ราคาในย่างกุ้ง
  • Laos ไม่น่าสนใจ

 

สรุปภาพรวม

  • โลกเราอยู่ในช่วง over การผลิต แต่ดีมานด์ต่ำ จะมีการล้มละลายเกิดขึ้นเพื่อกลับสู่จุดสมดุลย์
  • 48 เดือนนับจากนี้ ดอกเบี้ยขาขึ้น SME, non-listed จะลำบาก, listed จะได้เปรียบ กินส่วนแบ่งมากขึ้น, 2016 พนักงานบริษัทชีวิตมั่นคงกว่า SME
  • 2016 SET flat ทั้งปี bank ราคาต่ำมากแล้ว

 


Comments are closed.

Check Also

Muuji Festival 2024 เทศกาลดนตรีแบบฉบับญี่ปุ่น ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ฉีกไอเดีย Festival แนวใหม่ Vibes ญี่ปุ่นจัดเต็ม ท่ามกลางเขาใหญ่

พร้อมเข้าสู่ปีที่ 2 อย่างยิ่งใหญ่! Muuji Festival 2024 … …