ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาคการขนส่งมากขึ้น เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่สะอาด ปลอดมลพิษในไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน และยังเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่สามารถรองรับภาวะการขาดแคลนเชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคตได้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี หรือ Alternative Energy Development Plan : AEDP 2012-2021 ของกระทรวงพลังงาน

 

2014-bmw-i3-electric-car_100465664_m
Credit : greencarreports

 

ภายหลังจากที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ พีอีเอ (PEA) ได้เริ่มศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีสถานีอัดประจุไฟฟ้ามาเป็นเวลากว่า 1 ปี และพัฒนาและต่อยอดมาถึงปัจจุบัน เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการในด้านนี้ ในที่สุดทางด้านนายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จึงได้ให้นโยบายทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ในพื้นที่ของพีอีเอให้ครบทั้ง 74 จังหวัด ภายในปี 2562 เพื่อตอบสนองนโยบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของรัฐบาล โดยปัจจุบันพีอีเอกำลังศึกษาเส้นทางและสถานที่เพื่อจัดทำแผนระยะยาว แต่การลงทุนจะเป็นอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพราะพีอีเอมีพื้นที่ให้บริการถึง 74 จังหวัดจึงมีศักยภาพในการลงทุน

 

View of an electric car charging the battery, during the celebration of a fair of alternative energies in Madrid, Spain. (Photo by Cristina Arias/Cover/Getty Images)
Credit : cheatsheet

 

นอกจากนี้ พีอีเอได้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อทดสอบรถโดยสารไฟฟ้า (EV) เส้นทางระยะไกล รองรับนักท่องเที่ยวระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิและพัทยา โครงการนำร่องดังกล่าวมีการติดตั้งสถานีอัดประจุ 4 แห่ง ประกอบด้วยที่สนามบินสุวรรณภูมิ พัทยา และจุดแวะพักบนมอร์เตอร์เวย์ทั้ง 2 ฝั่ง รวมถึงมีรถโดยสารร่วมทดสอบ 1 คัน ล่าสุดแหล่งข่าวได้รายงานว่า พีอีเอมีแผนจะเพิ่มสถานีอัดประจุไฟฟ้าอีก 7 แห่งภายในปีนี้ โดยจะติดตั้งตามห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงหัวเมืองใหญ่อย่างโคราช และอาจซื้อยานยนต์ไฟฟ้ามาทดสอบเพิ่ม เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 20-30 ล้านบาท

 

Credit : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Credit : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในปัจจุบันยังให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ามากนัก เนื่องจากราคาเครื่องอัดประจุไฟฟ้ายังอยู่ในระดับสูง ถ้าเป็นเครื่องอัดประจุแบบธรรมดา (Normal) จะอยู่ที่ 6 แสนบาท และถ้าเป็นแบบรวดเร็ว (Quick Charge) จะอยู่ที่ 1.5 ล้านบาทต่อเครื่อง ขณะเดียวกันพบว่าต้องมีรถยนต์มาเติมไฟฟ้า 24 คันต่อวันถึงคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สำหรับเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบธรรมดาจะใช้เวลาชาร์จราว 8 ชั่วโมง ส่วนแบบรวดเร็วใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง โดยหากใช้เวลk 15-30 นาที จะชาร์จได้ 80% ของความจุดแบตเตอร์รี่ และการชาร์จ 1 ครั้งจะต้องมีค่าใช้จ่ายราว 280 บาท ส่วนในอนาคตพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยจะเดินต่อไปในทิศทางใดนั้น บรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนก็คงต้องมาลุ้นกันต่อไป

 

แหล่งข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ประกอบกอบ : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, greencarreports และ cheatsheet


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …