โคราชจับมือซีพีเอฟร่วม “ปลูกป่าต้นน้ำ เติมน้ำคืนลำน้ำมูล” เส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชาวอีสาน 2,084 ต้น พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่นหายากลงสู่แม่น้ำมูล 199,999 ตัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559

 

559000008237102

 

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา นายสมหมาย วิเชียรฉันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดโครงการ “รักษ์ลำน้ำมูล ปีที่ 8 ปลูกป่าต้นน้ำ เติมน้ำคืนเขื่อน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559 ณ หาดจอมทอง เขื่อนมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา

 

559000008237103

 

ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมปลูกต้นไม้จำนวน 2,084 ต้นในพื้นที่สาธารณะริมเขื่อนมูลบน และแจกจ่ายต้นไม้ให้ชาวบ้านในชุมชนไปปลูกที่บ้านหรือที่ทุ่งนาของตนเอง โดยเน้นปลูกต้นไม้ยืนต้นใหญ่และต้นไม้ท้องถิ่น เช่น ต้นยางนา, สะเดา, มะค่าโมง, อินทนิล, สัก, พยอม และพะยูง เป็นต้น

 

559000008237107

พร้อมร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่นหายากที่อาศัยอยู่ในลำน้ำมูล จำนวน 199,999 ตัว ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด และปลาประจำท้องถิ่น เช่น ปลาตะเพียนขาว, ปลาตะเพียนทอง, ปลาสวาย และปลาบึก ลงสู่ลำน้ำมูลเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาให้คงอยู่คู่ชุมชน ตามนโยบายของแต่ละสถานประกอบการของซีพีเอฟที่ส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้าน “ดิน น้ำ ป่าคงอยู่”

 

559000008237106     

ทั้งนี้ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จังหวัดนครราชสีมาได้เริ่มดำเนิน “โครงการรักษ์ลำน้ำมูล” มาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ชุมชนรอบรั้วโรงงานมีความอุดมสมบูรณ์ และปีนี้เราได้ขยายโครงการฯ ทำกิจกรรมบริเวณเขื่อนมูลบน ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำและเป็นพื้นที่หลักที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ หากพื้นที่บริเวณนี้ได้รับการดูแลจนอุดมสมบูรณ์จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของชาวชุมชน และสังคม

 


559000008237108

 

ซึ่งที่ผ่านมาซีพีเอฟได้ดำเนินโครงการรักษ์ลำน้ำมูลมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยแต่ละพื้นที่ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินโครงการมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น มีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 60 นอกจากนี้ ในส่วนของปลาที่ปล่อยไปมีการขยายพันธุ์จากเดิมที่มีการสูญหายจากภัยธรรมชาติ ทำให้มีจำนวนพันธุ์ปลาเพิ่มมากขึ้น มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 100 โดยทำการวัดผลจากการสอบถามชุมชนพื้นที่ในการดำเนินโครงการและสำรวจลำน้ำหลังจากดำเนินโครงการ ไม่มีการตายของพันธุ์ปลา เนื่องจากคัดเลือกพันธุ์ปลาและอายุปลาที่มีอัตราการรอดสูงสุด โครงการฯ นี้จึงนับเป็นโครงการนำร่องด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนร่วมกับชุมชนอีกด้วย

 

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ : ผู้จัดการออนไลน์


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …