1521จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น ‘หว่ามก๋อ’ (VAMCO) ที่อ่อนกำลังลงกลายเป็ยหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนตัวผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวัน และภาคกลาง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่

ในจังหวัดนครราชสีมาก็เช่นกัน เกิดฝนตกหนักทุกในพื้นที่ของจังหวัด ในวันที่ 15 – 16 กันยายนที่ผ่านมา ตลอดทั้งวัน แต่ไม่มีรายงานการเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำท่วมขังแต่อย่างใด

รายงานข้อมูลน้ำ จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน จนถึงวันนี้ วันที่ 17 กันยายน พบปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนเพิ่มขึ้น

p_2015-09-16-page-001

โดยในวันที่ 16 กันยายน 2558 มีปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนวัดได้ 40.3 มม. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ 1.310 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 72.773 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 23.14% ของความจุอ่างฯทั้งหมด 314.49 ล้าน ลบ.ม.

p_2015-09-17-page-001

และรายงานข้อมูลน้ำล่าสุด เมื่อเช้าวันที่ 17 กันยายน 2558 พบว่า มีปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนลดลงจากเดิมเป็น 10.6 มม. แต่ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 2.059 ล้าน ลบ.ม.

รวมปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นทั้ง 2 วันกว่า 3.4 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำทั้งหมดในอ่างฯ วันนี้คิดเป็น 23.77% หรือ 74.755 ล้าน ลบ.ม. แต่มีน้ำที่ใช้ได้จริงเพียง 52.035 ล้าน ลบ.ม. หรือ 16.55% ของความจุ

dtc_2015-09-17-page-001

หากดูจากข้อมูลรายงานแล้ว ปริมาณน้ำในอ่างฯ ณ ปัจจุบัน (ลูกศรเส้นสีม่วงด้านล่าง) ยังถือว่าค่อนข้างน้อยอยู่พอสมควร หากเทียบกับเมื่อปีที่แล้ว คือปี 2557 ในวันเดียวกัน ปริมาณน้ำในอ่างของปี 57 มีปริมาณกว่า 150 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งต่างกันเป็นอย่างมาก

ข้อมูลกราฟแสดงปริมาณน้ำในอ่างฯ ย้อนหลังไป 10 ปี ก็ยังพบว่า ในวันนี้ของทุกๆ ปี ปริมาณน้ำในอ่างฯ เฉลี่ยมีมากกว่าปัจจุบันพอสมควร มีเพียงปี 2548 (10 ปีที่แล้ว) ปีเดียว ที่มีปริมาณน้ำใกล้เคียงกัน ซึ่งหากกราฟเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับปี 48 (เส้นสีแดงด้านล่าง) สถานการณ์น้ำก็ยังถือว่าน่าเป็นห่วง

… เมืองโคราชปัจจุบันก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน จะมีน้ำกินน้ำใช้จนถึงฤดูแล้งปีหน้าหรือไม่?


Comments are closed.

Check Also

มอเตอร์โชว์โคราช จัดยิ่งใหญ่ที่สุดในอีสาน 29 มี.ค. – 6 เม.ย. 67 ที่เดอะมอลล์โคราช

ปีนี้ต้องออกรถใหม่ป้ายแดง รถเยอะสุดตั้งแต่จัดมา มอเตอร์ … …