ธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยยังขาดอีกหลายด้านที่จะรองรับการเติบโตที่ยั่งยืนสร้างหลักประกันการกินดีอยู่ดีของประชาชนในอนาคต

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาถกฐาหัวข้อ “Thailand Agenda 2030 : `วิสัยทัศน์การพัฒนาใหม่สู่ประเทศไทยที่ยั่งยืน” ในงานเสวนาของมูลนิธิมั่นพัฒนาและไทยพับลิก้า ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs) ถือเป็นเป้าหมายและวาระของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกทำงานร่วมกันเพื่อยุติความยากจน สร้างหลักประกันว่าคนจะมีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญกว่าตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้และปีหน้า ซึ่งการปรับจีดีพีปีนี้จาก 3% เป็น 3.2% ของธนาคารเพิ่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ถือว่าสอดคล้องกับที่ธปท.มองไว้

อย่างไรก็ดี หากดูจากเครื่องชี้ SDGs จะพบว่ามีหลายด้านที่เรายังทำได้ไม่ดี เช่น ตัวเลขด้านสาธารณะสุขสะท้อนว่าเรายังมีจำนวนแพทย์ไม่เพียงพอ มีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรสูงมาก มีอัตราการตังครรภ์ในวัยรุ่นสูง เป็นต้น  ซึ่งภายใต้ภาวะที่ระบบเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การดูแลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในระยะสั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ปัญหาเฉพาะหน้ามาบดบังเรื่องสำคัญในระยะยาว โดยเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับกับดักเชิงโครงสร้างหลายด้าน อาทิ ระดับความสามารถทางเทคโนโลยี ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตร และบริการ มีกรอบกติกากฎเกณฑ์ที่ล้าสมัยไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจใหม่ๆ การขาดประสิทธิภาพของระบบราชการ แถมโครงสร้างประชากรไทยยังเป็นข้อจำกัดด้านแรงงาน เพราะอีก 15 ปีข้างหน้าสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 17% เป็น 27% คือ เราจะมีจำนวนประชากรเท่าเดิม แต่ทุกๆ 4 คน จะมีผู้สูงอายุ 1 คน

 

ed48e7e128ec4528b89473c43b80bbd5

 

“ภาวะเช่นนี้จะสร้างปัญหาด้านฐานะการออมของประเทศ ค่าใช้จ่ายของภาครัฐและประชาชนในการรักษาพยาบาล การขาดแคลนบุคคลากรด้านสาธารณะสุข ขาดแคลนแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระบบการเมืองที่กลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นฐานเสียงสำคัญ รัฐบาลและพรรคการเมืองจะให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุมากกว่าที่จะขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจไปข้างหน้า เช่นเดียวกับประเทสอุตสาหกรรมที่กำลังติดกับดักนี้” นายวิรไทกล่าว

ทั้งนี้ การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับความผันผวนสูงขึ้นในอนาคตนี้น เราควรมีกันชนเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจากภายนอก ศึ่งทำได้หลายด้าน เข่น รัฐบาลต้องระวังหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ธนาคารกลางต้องระกษาทุนสำรองให้เพียงพอรับความผัรผสรข งเงินทุนดคลื่อนย้าย การดูแลสถาบันการเงินใหเมีเงินกองทุนเพียงพอ ขณะที่ภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญ และปรับตัวอยู่เสมอ ส่วนระดับประชาชนต้องรักษาเงินออม เป็นต้น

 

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ : โพสต์ทูเดย์

 


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …