11811579_904234592982747_4642576370647230657_n
ที่มา : Pum Pums Ck

เป็นปัญหาที่เรียกได้ว่าแทบจะเรื้อรังเลยสำหรับปัญหา ‘การระบายน้ำ’ สำหรับเมืองโคราช แต่หากมองในมุมกว้างปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับเมืองโคราช แต่ปัญหาการระบายน้ำในยามฝนตกหนัก กลับเป็นปัญหาของเมืองใหญ่ๆ แทบทุกเมืองในประเทศไทยประสบพบเจอ ไม่เว้นแม้เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร

บางพื้นที่อาจจะเป็นที่ลุ่มแล้วท่อระบายน้ำอาจจะเล็กไป ท่อใหญ่แล้วแต่มีสิ่งมากีดขวางทางระบายน้ำ หรืออีกหลายๆ ปัญหา ที่เกิดขึ้นตรงนี้หากจะพูดว่าเป็นปัญหาของใครคนหนึ่งที่ต้องแก้ไขคงไม่เป็น คนในเมืองจะต้องร่วมมือกัน ‘ทำในสิ่งที่ตนทำได้’ หรือ ‘เลิกทำในสิ่งที่จะสร้างปัญหา’

อีกหนึ่งแนวคิดของ อ.นิคม บุญญานุสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาผังเมือง มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

batch_IMG_8539

“ในวันที่ผู้คนทั่วไป ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้พื้นผิวที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อลดภาระการระบายน้ำของเมืองและช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของพื้นผิวดินได้อีกด้วย ปัญหาน้ำท่วมที่เมืองทั้งหลายที่กำลังประสบกันอยู่ทุกวันนี้ก็ล้วนมีผลมาจากการสร้างผิวพื้นปกคลุมดินโดยที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ เพิ่มมากขึ้นๆในทุกวัน ฝนตกลงมาเมื่อไรน้ำบนผิวดินก็รวมกันไหลไปหาที่ต่ำกว่า การถมดินเพื่อการก่อสร้างอย่างเสรีในบ้านเรา ทั้งการสร้างสิ่งก่อสร้างขวางหรือถมทับทางน้ำเดิม ก็เพิ่มความสับสนในการไหลของน้ำเหล่านี้เข้าไปอีก ก็เลยกลายเป็นน้ำท่วมอย่างที่เราเห็นกัน

11802539_876205959124711_8233968363036388063_o

เมื่อเรามีความเป็นเมืองมากขึ้นเท่าใด เรื่องของความรับผิดชอบต่อสาธารณะเป็นสิ่งที่ต้องมีมากขึ้นกันในทุกๆคน ไม่ใช่เป็นหน้าที่เฉพาะผู้หนึ่งผู้ใดบุคคลหรือองค์กรเดียว สถาปนิกและกลุ่มผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างทั้งหลาย จึงพึงเป็นผู้เริ่มต้นสร้างวัฒนธรรมการใช้พื้นลักษณะพิเศษเหล่านี้ เพื่อแก้ปัญหาเมืองให้กับสังคม”

11845073_876206002458040_4741272959099081307_o

 

ประชาชนทั่วไปก็ช่วยให้เมืองบรรเทาภัยจากน้ำท่วมได้ครับ หากช่วยกันทำสวนรับน้ำฝน(คือสวนที่ทำผิวด้านล่างให้ดูดซึมน้ำได้)ไว้ในบ้าน ช่วยชะลอการไหลของน้ำผิวดินจากบ้านออกมาสู่สาธารณะ หรือการสร้างภาชนะบรรจุน้ำฝนเก็บไว้ใช้เองก็ถือเป็นหนทางช่วยลดภาระน้ำผิวดินของระบบระบายน้ำของเมืองได้อีกทางหนึ่ง

 

คลิปนี้แสดงให้เห็นถึงการสร้างระบบชะลอน้ำผิวดินในพื้นที่เมือง ด้วยการทำเป็นบ่อน้ำด้านข้างถนนแล้วปลูกพวกไม้พุ่มคลุมดินเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ เมื่อน้ำผิวดินมีจำนวนมากหนองน้ำเหล่านี้จะช่วยชะลอความเร็วของมันเอาไว้ไม่ให้เกิดน้ำหลาก น้ำท่วม ในหนองน้ำก็จะมีเป็นหัวระบายน้ำเมื่อน้ำสูงถึงระดับที่กำหนดจึงจะถูกระบายเข้าระบบระบายน้ำของเมือง(ลดขยะ หรือสิ่งปนเปื้อนที่จะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน) การมีหนองชะลอน้ำเช่นนี้เป็นเครือข่ายต่อเนื่องกันทั้งเมืองทำให้ระบบระบายน้ำของเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถรองรับนำ้ผิวดินจำนวนมากๆได้โดยไม่ต้องไปลงทุนทำระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้เส้นทางที่เป็นโครงข่ายของหนองชะลอน้ำเหล่านี้ก็สามารถทำเป็นทางจักรยาน ทางเดินเท้าเฉพาะ ได้อีกด้วย นี่เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาและนำมาปรับใช้กับเมืองโคราชเป็นอย่างยิ่ง อย่างน้อยบริเวณถนนสืบสิริด้านที่ว่างติดรางรถไฟก็สามารถเริ่มต้นทดลองทำได้ในทันที

แล้วเราล่ะ จะช่วยดูแลเมืองยังไง? หากใครยังคิดไม่ออกลองดูท่อระบายน้ำเวลาฝนตก คุณจะเห็นขยะไหลมากองรวมกันที่ปากท่อเต็มไปหมด แล้วน้ำจะระบายได้อย่างไร?


Comments are closed.

Check Also

รำบวงสรวงย่าโม วันมงคล 23 มีนาคม 2567

สปิริตแรงกล้ารำบวงสรวงย่าโมท่ามกลางสายฝน วันมงคล 23 มีน … …