ออกสตาร์ท! เมืองโคราชเตรียมโตแบบก้าวกระโดด รัฐเคาะรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 250 กม./ชม. เริ่มก.ย.59 เชื่อมโคราช-เมืองหลวงชั่วโมงครึ่ง เป็นข่าวดีที่สุดของชาวโคราชและชาวภาคอีสาน เมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ได้ข้อสรุปไฟเขียวเดินหน้าโครงการแล้ว โดยคาดว่าจะเริ่มตอกเข็มลงมือก่อสร้างเริ่มแรก 3 กิโลเมตร ช่วงกลางดง-ปางอโศก ให้ทันภายในเดือนกันยายน 2559 ไฮสปีดเทรนเกิด จับตาเมืองโคราชกับความเติบโตทางเศรษกิจและการลงทุน พร้อมรองรับการขยายตัวของเมืองหลวง โดยปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในแง่ของการพัฒนาเมืองที่กำลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว การลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนถาโถมเข้ามายังเมืองโคราชในหลากหลายมิติ สิ่งที่เป็นตัวเร่งกระตุ้นการพัฒนาเมืองแห่งนี้ ส่วนสำคัญมาจากนโยบายการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองหลวง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา รวมไปถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เหล่านี้ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ และต้องการคว้าตั๋วให้ทันรถไฟขบวนแรกนั้น ทยอยแย่งชิงทำเลเพื่อเตรียมปักหลักและขยายการลงทุนในจังหวัดนครราชสีมาอย่างศึกคัก เห็นได้จากภาคการค้าและอุตสาหกรรม ที่มีการขยายตัวโตขึ้นมาสวนกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ หากขับรถมาในตัวเมืองโคราชจะเห็นโครงการก่อสร้างต่างๆ เต็มไปหมด อีกทั้งอำเภอปากช่องยังเป็นอีกหนึ่งเมืองบริวารสำคัญ ที่นักลงทุนเตรียมจับจองเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล ที่จะเพิ่มขึ้นเพราะความสะดวกและรวดเร็วของรถไฟความเร็วสูงในอนาคต สรุปลงทุน 189,999 ล้านบาท ซอยตอกเข็มช่วงกลางดง-ปางอโศก เริ่มให้ทันก.ย.59 การลงทุนก่อสร้างในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ได้ข้อสรุปใช้รูปแบบรถไฟความเร็วสูง ขนาดทาง 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม./ชม. เน้นการขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก วงเงินลงทุน 189,999 ล้านบาท โดยจะใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท แบ่งก่อสร้างในช่วงเริ่มแรกจากกลางดง-ปางอโศก ระยะทางประมาณ 3 กม. เป็นจุดเริ่มของโครงการภายในเดือนกันยายน 2559 การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจากจังหวัดนครราชสีมา-กรุงเทพฯ มีระยะทาง 250 กม. ผ่าน 5 สถานีมี กรุงเทพฯ อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และโคราช (จากเดิม 8 สถานี โดยตัด 3 สถานีออกคือ ภาชี แก่งคอย และโคกสะอาด) ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาที ไทยสร้างทางวิ่งและดูแลการเดินรถ จีนจัดหาระบบ ตัวรถและถ่ายทอดเทคโนโลยี การแบ่งช่วงกลางดง-ปากอโศกมาสร้างก่อนนั้น เพื่อสื่อถึงการเริ่มต้นที่ดีของโครงการตามที่ทั้งไทยและจีนตกลงกัน หลังจากที่เลื่อนออกไปและหาข้อสรุปไม่ได้หลายครั้ง จะเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2559 มีระยะทางราว 3 กม. งบประมาณช่วงแรก 500 ล้านบาท ใช้การลงทุนแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) แยกรูปแบบการก่อสร้างออกเป็น 2 ส่วน คือ งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ไทยจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 4-5 ส่วน เพื่อความรวดเร็ว ใช้ผู้รับเหมาไทยและเป็นฝ่ายดำเนินการเอง ในส่วนของงานระบบและขบวนรถไฟความเร็วสูงเป็นความร่วมมือของจีน โดยจะคัดเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีผลงานการเดินรถให้ไทยเป็นผู้เลือกและพิจารณา ขณะที่การให้บริการเดินรถนั้นเป็นหน้าที่ของไทยที่จะบริษัทเดินรถขึ้นมา ซึ่งจะมีจีนคอยเป็นที่ปรึกษาช่วยเหลือในช่วงแรกเริ่มบริหารจัดการ รวมไปถึงฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้กับไทย ข้อมูลอ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
เตรียมเที่ยวงานยักษ์ “เทศกาลเที่ยวพิมาย PHIMAI FESTIVAL 2024” วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2567 จัด 5 วัน 5 คืน
เริ่มแล้ว มหกรรมการเงินยิ่งใหญ่สุดในอีสาน โปรแรงดีที่สุดแห่งปี MoneyExpo2024Korat วันนี้ – 11 ส.ค. 67 เดอะมอลล์โคราช