โครงการรถไฟทางคู่จิระ-อุบลราชธานี เป็นโครงการก่อสร้างทางคู่ขนาด 1 เมตร ระยะทาง 305 กิโลเมตร โดยยึดแนวตามเส้นทางรถไฟเดิมที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างอยู่แล้ว มีจำนวนสถานีตลอดเส้นทาง 34 สถานี โดยขบวนรถสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160กม./ชม. ตามแผนการก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ถูกบรรจุลงในแผนงบประมาณปี 2560 ของกระทรวงคมนาคม มูลค่าโครงการรวม 35,836 ล้านบาท จะสามารถเชื่อมโยงการขนส่งในเขตภาคอีสานตอนใต้ จากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบรรจบกับรางคู่สายอีสานเหนือจากหนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น ที่ศูนย์กลางคือจังหวัดนครราชสีมา แล้วส่งต่อไปยังเส้นทางชุมทางถนนจิระ-มาบกระเบา ที่มีโครงการก่อสร้างล่วงหน้าก่อนแล้ว การก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางนี้ มีแนวทางแก้ปัญหาจุดตัดทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟในแนวตรง (Overpass) 2.ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟในลักษณะรูปตัวยู (U-Shape Overpass) 3.ท่อเหลี่ยมลอดใต้ทางรถไฟ (Box Culvert) 4.ยกระดับทางรถไฟ (Elevated Railway) และก่อสร้างรั้วกั้นตลอดแนวเขตทางรถไฟ เพื่อป้องกันคนหรือสัตว์ข้ามทางรถไฟตัดหน้าขบวนรถ นอกจากนี้ได้แบ่งรูปแบบการให้บริการ ได้แก่ 1.บริการรถโดยสารทางไกลด้วยขบวนรถด่วนพิเศษและขบวนรถด่วนขบวนรถเร็ว 2.บริการรถโดยสารทางใกล้ด้วยขบวนรถไฟท้องถิ่นและขบวนรถธรรมดา จากคาดการณ์ปริมาณจำนวนผู้โดยสารเดินทางโดยรถไฟจาก จ.นครราชสีมา-อุบลราชธานี ปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 3.53 ล้านคน/ปี เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.2569 คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มเป็น 7.838 ล้านคน /ปี ในปี พ.ศ. 2579 เพิ่มเป็น 9.360 ล้านคน/ปี และในปี พ.ศ. 2598 เพิ่มเป็น 12.620 ล้านคน/ปี อีกทั้งช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากเดิม 5 ชม. 30 นาที เป็น 3 ชม. 15 นาที และจากผลคาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้า ตลอดแนวเส้นทางโครงการ ปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 108,000 ตัน/ปี เมื่อโครงการแล้วเสร็จในปี พ.ศ..2569 จะมีปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 941,800 ตัน/ปี ในปี พ.ศ..2579 เพิ่มเป็น 1,158,000 ตัน/ปี และในปี พ.ศ..2598 เพิ่มเป็น 1,553,200 ตัน/ปี โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น ข้าวสาร มันสำปะหลังแปรรูป น้ำตาล รวมถึงสินค้าในกลุ่มซีเมนต์
บิ๊กเซอร์ไพรส์! “ป๋าซิม” ยกให้ฟรี! ที่ดินเส้นบายพาสสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่โคราช ประเดิม “ที่ดินจังหวัด-สปก.” ทาบอบจ.ย้ายอยู่กลางบึงพุดซา
โคราชขอพันล้าน “ลุงตู่” จัด 3 งานยักษ์ “ชิมช้อปใช้-ครม.สัญจร-ประชุมระดับชาติ” กระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน!
“มทร.อีสาน” ชี้เปรี้ยง! โพลโคราชสตาร์ทอัพสู่ระบบรางดีที่สุด เดินเครื่องฮับภูมิภาคอาเซียน พร้อมผลิตบุคลากรรองรับระบบราง
กลุ่ม “โคราชเพื่อโคราช” เตรียมเสนอปรับเส้นทางวิ่ง “รถไฟฟ้ารางเบา LRT” สายสีเขียว แก้ปัญหาช่วงถนนโพธิ์กลาง-มุขมนตรี
“สภาอุตฯโคราช” สตาร์ทอัพ! จับคู่ธุรกิจเชื่อมเมือง “โคราช-บิ่งห์เฟื๊อก-พระตะบอง” ดันโคราชลงทุนเวียดนาม-กัมพูชา
เริ่มแล้ว! โคราชคิกออฟ “รถไฟฟ้ารางเบา LRT” อีก 6 ปีเปลี่ยนชีวิตคนเมือง! หมดยุครถส่วนตัวใช้ขนส่งมวลชนปี 68
ดีเดย์สุดท้ายจริงๆ ผู้ว่าฯยันรฟท.เตรียมมาโคราชสรุป “ทุบ-ข้ามสะพานสีมาธานี” ต้นกันยายนไฟนอลก่อนเสนอคมนาคม
รวม 22 สุดยอดบิ๊กโปรเจคพัฒนาเมืองโคราช รับปี 2561 ทั้งรัฐและเอกชนแห่ลงทุน ปั้นสู่เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของไทย
SwatCat Captain | เจาะเบื้องหลัง เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว หนทางกว่าจะเป็นกัปตันสวาทแคท | SwatCat TheSeries ตอนที่ 2 [สัมภาษณ์พิเศษ] สัมภาษณ์พิเศษ …
MEMORIES OF THE MALL KORAT | 16 ปีแห่งความหลังจากปากคำของ ‘ปรีชา ลิ้มอั่ว’ กระบี่มือหนึ่งธุรกิจค้าปลีกภาคอีสาน
สัมภาษณ์พิเศษ | เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว การติดทีมชาติไทยกับความคุ้มค่าแห่งการรอคอย | SwatCat TheSeries ตอน 1
หนึ่งแม่ทัพ หนึ่งกุนซือ หนึ่งขุนพล การรวมตัวเพื่อวิวัฒน์เศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน | LOOK ON THE BRIGHT SIDE ประชารัฐฯโคราช
เปิดใจพ่อเมืองโคราชกับแผนนโยบายพัฒนาศักยภาพเมืองสู่ SMART CITY | วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา | JUST THE WAY ‘KORAT’ IS
เพราะเธอกล้าคิด ชีวิตจึงเกิดจุดเปลี่ยน “นวลจันทร์ เลอเลิศวณิชย์” เจ้าของแบรนด์ วีเค วิกกี้ ไวท์ The Woman thinking
MY HEART WILL GO ON | เพราะเรามีหัวใจดวงเดียวกัน ปรีชา ลิ้มอั่ว | ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา