เป็นที่ทราบกันดีว่า “มันสำปะหลัง” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากการผลิตเป็นแป้งมันแล้ว ปัจจุบันมันสำปะหลังยังเป็นพืชผลิตพลังงานทดแทน แต่ข้อจำกัดของพื้นที่ปลูกในประเทศให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการผลิตเอทานอล ในฐานะที่จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่การเพาะปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในไทย หรือ 1.9 ล้านไร่ มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมันฯกว่า 7.3 หมื่นราย ผลผลิตเฉลี่ย 4 ตัน/ไร่ ผลผลิตรวมทั้งจังหวัดประมาณ 7.6 ล้านตัน มีมูลค่าการผลิตมากถึง 17,860 ล้านบาท โคราชจึงเดินหน้าดันโครงการ “Korat Tapioca Model (KOTAM)” นำร่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและดันโคราชให้เป็นเมืองหลวงแห่งสำปะหลัง เพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำโดยให้ความรู้เกษตรกรกว่า 7.3 หมื่นครัวเรือนทุกรูปแบบ หวังเพิ่มผลิตผลจาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่ และ ลดต้นทุนให้ได้ 20% ต่อไร่ โดยมีโรงแป้ง 14 แห่ง และลานมัน 32 แห่ง เข้าร่วมขับเคลื่อน และได้รับอนุมัติโครงการจากภาครัฐ 22 ล้านบาท [soliloquy id=”775″] โดยงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐจะแยกดำเนินการเป็น 3 ส่วน คือ 1.เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง 18,250 ราย พื้นที่ดำเนินการ 32 อำเภอในจังหวัด 2.กิจกรรมผลิตและขยายศัตรูธรรมชาติเพื่อแก้ไขปัญหาโรครากเน่า-หัวเน่าของมันสำปะหลัง และ 3.กิจกรรมศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง โครงการ KOTAM จึงเป็นโครงการสำคัญที่น่าจับตามองอีกหนึ่งโครงการของโคราชเลยก็ว่าได้ เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลังเท่านั้น แต่โครงการนี้ยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทนอีกด้วย ภาพประกอบ : www.farm-kaset.com แหล่งข้อมูล : โพสต์ทูเดย์ โดย ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ
เตรียมเที่ยวงานยักษ์ “เทศกาลเที่ยวพิมาย PHIMAI FESTIVAL 2024” วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2567 จัด 5 วัน 5 คืน
เริ่มแล้ว มหกรรมการเงินยิ่งใหญ่สุดในอีสาน โปรแรงดีที่สุดแห่งปี MoneyExpo2024Korat วันนี้ – 11 ส.ค. 67 เดอะมอลล์โคราช