หลังจากสายการบินเอกชนศึกษาความเป็นไปได้ ที่เปิดเที่ยวบินกรุงเทพ – นครราชสีมา  และข่าวการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ ตลอดสัปดาห์นี้ เราจะไปติดตามการเปลี่ยนโฉมของเมืองโคราชใน Big Story ชุด “โคราช-มหานคร”  

R038-4

กลางถนนมิตรภาพ  บริเวณเขื่อนลำตะคลอง  ถูกเคลียร์พื้นที่ออกหมด เพื่อสร้างทางด่วนมอเตอร์เวย์ บางปะอิน – นครราชสีมา เป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้ใช้เส้นทางไปกลับกรุงเทพ-โคราช ร่นระยะเวลาการเดินทางเหลือ 2 ชั่วโมง   ด้วยค่าผ่านทางเฉลี่ยกิโลเมตรละ 1 บาท ระยะทาง 196 กิโลเมตร งบก่อสร้างรวม 84,600 ล้านบาท  ทางพิเศษนี้จะเปิดให้บริการในปี 2563

 

R038-9(1)

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ยังเป็นอีกหนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ที่ผ่านการหารือและปรับรูปแบบเส้นทางมาแล้วเกือบ 20 ครั้ง เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า เราจะได้เห็นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจาก กรุงเทพ-โคราช ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยเป็นการก่อสร้างช่วงแรก ก่อนจะสานต่อมาถึงโคราชในช่วงที่ 3 ในระยะต่อมา

06c8c4f8cc154e1783a846965542817f_620

การพัฒนาเส้นทางรอบนอกก่อนเข้าเมือง มาพร้อมกับการเติบโตภายในเมืองโคราช “แผนแม่บทระบบจราจรและขนส่งสาธารณะ จังหวัดนครราชสีมา” และ “รถไฟรางเบา หรือ LRT” คือคำตอบ

20170411-120348-Korat-04
Credit : korat-publctransport, สนข.

ปัจจุบันแผนนี้ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 8 ครั้ง และจะใช้เวลาศึกษา 14 เดือน  เบื้องต้นมี  3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีเขียว สีส้ม และม่วง  การก่อสร้างแบ่งเป็น 3 เฟส เฟสแรกสายสีเขียวและส้ม  ก่อสร้างในปี 2563 กำหนดแล้วเสร็จ ปี  2565  เฟสที่สอง สายสีม่วง จะสร้างในปี 2566 แล้วเสร็จในปี 2568    และเฟสสุดท้าย เป็นเส้นทางส่วนต่อขยาย  จะก่อสร้างในปี 2569  งบก่อสร้างรวม 15,000 ล้านบาท  อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 15-20 บาทตลอดสาย

20170411-120336-Korat-03
Credit : korat-publctransport, สนข.

สาเหตุที่ต้องมีรถไฟรางเบาในเมืองโคราช มาจากข้อมูลการจราจรของเมือง  พบว่า  มีรถยนต์ทุกประเภทวิ่งเข้าออกในเมือง 5,347 คันต่อวัน และมีผู้ใช้รถยนต์ในชั่วโมงเร่งด่วน 20,000 คนต่อวัน  โดย 51% เป็นผู้ใช้รถที่วิ่งผ่านเขตเมือง จะจัดทำแผนแม่บทสร้างถนนวงแหวนชั้นนอกและชั้นใน   เพื่อให้คนกลุ่มนี้วิ่งรถออกนอกเมือง ส่วนผู้ใช้รถยนต์วิ่งในเมือง จะจัดระบบให้ใช้ LRT ซึ่งจะรองรับการเติบโตเมืองโคราชในอีก 20 ปี ขณะนี้ได้นำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เสนอ สนข. หากอนุมัติจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2560

aec0005013

ข้อมูลจากขนส่งจังหวัดนครราชสีมา ยังพบว่าในเขตเมือง คนโคราชนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาเป็นรถสองแถว มีค่าโดยสารเริ่มที่ 8 บาท จนถึง 20 บาทหากเดินทางข้ามอำเภอ ขนส่งจังหวัดนครราชสีมา   ยืนยันว่า หากมีระบบราง ก็จะไม่ยกเลิกบริการรถสองแถว  แม้สถานีรถไฟรางเบาจะห่างกันสถานีละ 1 กิโลเมตรก็ตาม

09102011108-1

ปัจจุบันโคราชมีประชากรเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 2,630,000 คน  ขนาดของเมืองใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีจีดีพีสูงที่สุดในภาคอีสาน วิถีชีวิตของประชากร ยังเน้นความคล่องตัวและเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายไหว ซึ่งการพัฒนาเมืองโคราช ไม่ใช่แค่การทำเพื่อคนในจังหวัด แต่เป็นแผนงานเพื่อคนทั้งประเทศ ที่เดินทางสู่ภาคอีสานด้วยถนนมิตรภาพเพียงเส้นทางเดียวมานานกว่า 52 ปี

 

VoiceTV
แหล่งข้อมูล : VoiceTV


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …