แม้ว่าอุทยานเฉลิมผีเสื้อพระเกียรติ ภายใต้การดูแลของอุทยานการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะอยู่ในช่วงปรับปรุงซึ่งมีกำลังแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ แต่คณะวิจัยและเจ้าหน้าที่อุทยานผีเสื้อฯก็ไม่เคยหยุดพัก นำทีมลงสำรวจป่าต้นน้ำลำแชะอุทยานแห่งชาติทับลาน พร้อมเก็บภาพสวยๆ ของผีเสื้อกลางวันที่พบในพื้นที่มาให้เราได้ชมกันกว่า 18 ชนิด ซึ่งเป็นสัญญาณที่อันดีที่บ่งบอกถึงความสมดุลของระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน นี่จึงเป็นภาพที่งดงามและชวนให้รู้สึกปิติยินดีกันไปตามๆ กัน . โดยในการสำรวจครั้งนี้ ดร.รุจ มรกต อาจารย์สาขาเทคโนดลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา ม.เทคโนโลยีสุรนารี และเจ้าหน้าที่อุทยานผีเสื้อเฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ได้เดินทางเข้าไปสำรวจปริมาณและระบุสายพันธุ์ผีเสื้อกลางวันในพื้นที่เขตต้นน้ำมูล เหนือเขื่อนลำแชะ เขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ท้องที่ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา จากการสำรวจผีเสื้อกลางวันบริเวณป่าต้นน้ำเขื่อนลำแชะ เพียงจุดเดียวคือบริเวณริมลำธารหางเขื่อนลำแชะ พบผีเสื้อกลางวัน 18 ชนิด ได้แก่ 1. ผีเสื้อหางดาบธรรมดา (Graphium antiphates) 2. ผีเสื้อหางดาบลายจุด (Graphium nomius) 3. ผีเสื้อหางดาบลายขีด (Graphium aristeus) 4. ผีเสื้อหนอนจำปีธรรมดา (Graphium agamemnon) 5. ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแดงต่อ (Graphium arycles) 6. ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก (Graphium doson) 7. ผีเสื้อม้าลายลายจุด (Graphium megarus) 8. ผีเสื้อเหลืองสยามธรรมดา (Cepora iudith) 9. ผีเสื้อเหลืองสยามลายขีด (Cepora nerissa) 10. ผีเสื้อเหลืองสยามขอบดำ (Cepora nadina) 11. ผีเสื้อหนอนใบกุ่มธรรมดา (Appias albina) 12. ผีเสื้อหนอนใบกุ่มขอบตาลไหม้ (Appias lyncida) 13. ผีเสื้อหนอนใบกุ่มเส้นดำ (Appias libythea) 14. ผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่ (Hebomoia glaucippe) 15. ผีเสื้อปลายปีกส้มเล็ก (Ixias pyrene) 16. ผีเสื้อหนอนคูณธรรมดา (Catopsilia pomona) 17. ผีเสื้อแผนที่ลายหินอ่อน (Cyrestis cocles) 18. ผีเสื้อฟ้าดอกถั่วสีเงิน (Catochrysops panormus) . เนื่องจากผีเสื้อส่วนใหญ่นั้นจะกินพืชอาหารเฉพาะอย่างที่มีความแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันที่พบจึงสามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานได้เป็นอย่างดี . อย่างไรก็ตาม ยิ่งพบชนิดพันธุ์ของผีเสื้อหลากหลายชนิดมากเท่าใด ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของพืชมากชนิดเช่นเดียวกัน หลังจากนี้ทางคณะสำรวจมีแผนจะลงพื้นที่สำรวจระบุสายพันธุ์ของผีเสื้อบริเวณนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง และอาจจะมีการเก็บตัวอย่างเพื่อรวบรวมบันทึกข้อมูลไว้ให้ทำการศึกษาและเผยแพร่ต่อไปด้วย หากใครสนใจอยากถ่ายรูปผีเสื้อสวยๆ มากมายขนาดนี้ ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯแนะนำว่า ช่วงหน้าฝนจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ใครมีโอกาสได้ไปเชื่อนลำแชะอย่าลืมเก็บภาพมาฝากกันบ้างเด้อ แหล่งข้อมูล : ไทยรัฐออนไลน์ ภาพประกอบ : ประชาธิป มากมูล
เตรียมเที่ยวงานยักษ์ “เทศกาลเที่ยวพิมาย PHIMAI FESTIVAL 2024” วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2567 จัด 5 วัน 5 คืน
เริ่มแล้ว มหกรรมการเงินยิ่งใหญ่สุดในอีสาน โปรแรงดีที่สุดแห่งปี MoneyExpo2024Korat วันนี้ – 11 ส.ค. 67 เดอะมอลล์โคราช