เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 5 ตุลาคม ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา นายทวีศักดิ์ พันธ์วิเศษศักดิ์ ปลัดเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา พร้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นครราชสีมา และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล ในฐานะที่ปรึกษาบริหารจัดการเดินระบบและดูแลการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุม ชี้แจงความก้าวหน้าการดำเนินโครงการแนวทางฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชนและสังคมรอบพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครนครราชสีมา โดยมีนายจำลอง มหิงษาเดช ผู้ใหญ่บ้านหนองปลิงใหม่ หมู่ 9 ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา พร้อมผู้นำชุมชนในละแวกพื้นที่รอบศูนย์กำจัดขยะประกอบด้วยบ้านหนองปลิง หมู่ 3 บ้านหนองโสมง หมู่ 6 และบ้านหนองปลิงใหม่ หมู่ 9 ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับผลกระทบจากกลิ่นและน้ำเสีย รวมทั้งปัญหาสังคมนานกว่า 20 ปี ได้มายื่นหนังสือให้ระงับการขายขยะเก่าในบ่อฝังกลบและพิจารณาแผนฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบบ่อขยะ นายจำลอง ผู้ใหญ่บ้านหนองปลิงใหม่ เปิดเผยว่า สาเหตุการเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านและสถานที่ราชการจำนวน 9 แห่ง ในรัศมี 3 กิโลเมตร เทศบาลนครนครราชสีมา ได้อนุญาตให้บริษัท ทีพีไอ โพลีน จํากัด (มหาชน) ดำเนินการรื้อร่อนกองขยะเก่าสูงกว่า 10 เมตร จากบ่อฝังกลบขนาด 70 ไร่ ซึ่งมีปริมาณขยะสะสมตกค้างกว่า 6 แสนตัน เพื่อนำไปกำจัดที่โรงงานทีพีไอ จ.สระบุรี โดยอ้างขยะฝังกลบประมาณ 5 ปี มีกระบวนการย่อยสลายไม่สมบูรณ์ ทำให้กลิ่นขยะฟุ้งกระจายตามกระแสลมรวมกับปริมาณขยะใหม่เกิดขึ้นเฉลี่ยวันละร่วม 450 ตัน ไม่เคยควบคุมปริมาณ โดยพบเห็นรถขนขยะ อปท. ที่ไม่ได้อยู่ในข้อตกลง เช่น เทศบาลตำบล (ทต.) จักราช อ.จักราช องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปักธงชัย อ.ปักธงชัย ฯลฯ แล้วนำมาเทกองกลางแจ้งบนพื้นที่ทิ้งขยะแห่งใหม่ขนาด 50 ไร่ เพื่อให้ชาวบ้านมาคุ้ยเขี่ยหาของมีค่าในกองขยะปริมาณกว่า 1.7 แสนตัน ทั้งๆ ที่ปัญหากลิ่นเหม็นจากกองขยะเก่าได้ทุเลาค่อนข้างมาก แม้ดำเนินการในพื้นที่ราชการ แต่เทศบาลนครนครราชสีมา ไม่เคยทำสัญญาประชาคมหรือสอบถามชาวบ้าน ก่อนหน้านี้ได้รับปากหากบ่อเก่าเต็มจะย้ายออกและฝังกลบโดยใช้ผ้าปิดชั้นบนและใช้ดินกลบ เพื่อปลูกต้นไม้ปรับภูมิทัศน์ รายได้จากการกำจัดขยะโดยเก็บจากปริมาณขยะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำมาทิ้งตันละ 300 บาท การรื้อร่อนขยะเก่าส่งขายให้ทีพีไอ การขายปุ๋ยอินทรีย์และกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะกิจกรรมซีเอสอาร์ CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทน.นครราชสีมา ไม่เคยดำเนินการเลย ถือไม่เป็นไปตามข้อตกลงกับชาวบ้านและขอขอบคุณ นายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส เขต 2 จ.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา (ชพน.) ได้นำปัญหาดังกล่าวไปอธิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริหารเทศบาลนครนครราชสีมา อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ นายทวีศักดิ์ ปลัด ทน.นครราชสีมา กล่าวชี้แจงสถานการณ์ขยะมูลฝอยจาก อปท.และเอกชนในเขต อ.เมือง มีหน่วยงานต่างๆ มาใช้บริการทั้งหมด 35 ราย มีปริมาณขยะมูลเฉลี่ยต่อวัน 446.23 ตัน แบ่งเป็นขยะในเขตเทศบาล 221.57 ตันต่อวัน และนอกเขตเทศบาล 225.66 ตัน แต่ระบบสามารถกำจัดได้วันละ 230 ตัน ทำให้เกิดขยะสะสมตกค้างวันละกว่า 230 ตัน จึงมอบหมายให้ทีพีไอขนย้ายขยะส่วนเกินจากบ่อฝังกลบไปกำจัดวันละ 150 ตัน แต่ประสบปัญหาสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาทุกวัน จึงต้องลดปริมาณลงมา ล่าสุดมีปริมาณขยะสะสมตกค้างกว่า 6 แสนตัน ที่ต้องเร่งกำจัด ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา 1.กำหนดช่วงเวลารื้อร่อนขยะให้ดำเนินการช่วงเวลาที่เหมาะสม 09.00 -16.00 น. เนื่องจากเป็นห้วงเวลาชาวบ้านส่วนใหญ่ออกไปทำงานหรือประกอบกิจกรรมนอกพื้นที่ 2.เวลาเดินรถขนย้ายขยะต้องเป็นช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น 3.ฉีดพ่นน้ำในบริเวณที่รถขยะเข้า–ออก และบ่อฝังกลบขยะอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศ รวมถึงการจำกัดความเร็วของรถเพื่อลดปริมาณฝุ่นและมลพิษ 3.บริเวณพื้นที่รื้อร่อนขยะเก่า จัดทำแผงหรือตาข่ายกันลมป้องกันการพัดปลิว ป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและลดกลิ่นเหม็น 4.ติดตั้งถุงลมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสังเกตทิศทางการพัดของลมและใช้เป็นสัญญาณในการป้องกันกลิ่น 5.จัดทำแนวกำแพงต้นไม้ โดยปลูกต้นไม้สูงแทรกด้วยพุ่มเตี้ย เพื่อป้องกันแนวลม ดูดซับกลิ่นและการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง 6.ฉีดพ่นน้ำหมักจุลินทรีย์ วันละ 2 ครั้ง และฉี่น้ำยาดับกลิ่น 2 ครั้งต่อเดือน ทั้งนี้การเยียวยา ฟื้นฟูชาวบ้านและสภาพแวดล้อมเทศบาลนครนครราชสีมา เคารพสิทธิทุกคนและเข้าใจปัญหาดี ไม่ได้นิ่งเฉยได้พยายามหาแนวทางช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง แหล่งข้อมูล : มติชนออนไลน์
บิ๊กเซอร์ไพรส์! “ป๋าซิม” ยกให้ฟรี! ที่ดินเส้นบายพาสสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่โคราช ประเดิม “ที่ดินจังหวัด-สปก.” ทาบอบจ.ย้ายอยู่กลางบึงพุดซา
โคราชขอพันล้าน “ลุงตู่” จัด 3 งานยักษ์ “ชิมช้อปใช้-ครม.สัญจร-ประชุมระดับชาติ” กระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน!
“มทร.อีสาน” ชี้เปรี้ยง! โพลโคราชสตาร์ทอัพสู่ระบบรางดีที่สุด เดินเครื่องฮับภูมิภาคอาเซียน พร้อมผลิตบุคลากรรองรับระบบราง
กลุ่ม “โคราชเพื่อโคราช” เตรียมเสนอปรับเส้นทางวิ่ง “รถไฟฟ้ารางเบา LRT” สายสีเขียว แก้ปัญหาช่วงถนนโพธิ์กลาง-มุขมนตรี
“สภาอุตฯโคราช” สตาร์ทอัพ! จับคู่ธุรกิจเชื่อมเมือง “โคราช-บิ่งห์เฟื๊อก-พระตะบอง” ดันโคราชลงทุนเวียดนาม-กัมพูชา
เริ่มแล้ว! โคราชคิกออฟ “รถไฟฟ้ารางเบา LRT” อีก 6 ปีเปลี่ยนชีวิตคนเมือง! หมดยุครถส่วนตัวใช้ขนส่งมวลชนปี 68
ดีเดย์สุดท้ายจริงๆ ผู้ว่าฯยันรฟท.เตรียมมาโคราชสรุป “ทุบ-ข้ามสะพานสีมาธานี” ต้นกันยายนไฟนอลก่อนเสนอคมนาคม
รวม 22 สุดยอดบิ๊กโปรเจคพัฒนาเมืองโคราช รับปี 2561 ทั้งรัฐและเอกชนแห่ลงทุน ปั้นสู่เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของไทย
เปิดใจพ่อเมืองโคราชกับแผนนโยบายพัฒนาศักยภาพเมืองสู่ SMART CITY | วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา | JUST THE WAY ‘KORAT’ IS คุณคิดว่าคำกล่ …
สัมภาษณ์พิเศษ | เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว การติดทีมชาติไทยกับความคุ้มค่าแห่งการรอคอย | SwatCat TheSeries ตอน 1
“กอบกาญจน์” รมต.ท่องเที่ยวฯแนะ “โคราชต้องรู้จักเล่าเรื่อง ว่ามีอะไรดีกว่าคนอื่นยังไง” ดันเมืองท่องเที่ยว
เพราะเธอกล้าคิด ชีวิตจึงเกิดจุดเปลี่ยน “นวลจันทร์ เลอเลิศวณิชย์” เจ้าของแบรนด์ วีเค วิกกี้ ไวท์ The Woman thinking
MY HEART WILL GO ON | เพราะเรามีหัวใจดวงเดียวกัน ปรีชา ลิ้มอั่ว | ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา