เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย อยู่ระหว่างขนย้ายเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ออกจากถ้ำหลวงและบริเวณใกล้เคียง หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาดามีแม่สาย ออกจากถ้ำไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเชีงรายประชานุเคราะห์จนครบทั้ง 13 คนแล้วนั้น ทางศูนย์นำโดยนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการ จ.พะเยา ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์มีกำหนดจะแถลงปิดศูนย์ในเวลา 18.30 น.ของวันที่ 11 ก.ค.นี้

ด้านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างศิลปะวัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย ซึ่งได้เดินทางไปสังเกตุการณ์ที่ถ้ำหลวงมาตั้งแต่วันแรกๆ และป็นกำลังใจให้กับครอบครัวของเด็กๆ และผู้ฝึกสอนหรือโค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องหลายวัน ได้นำศิลปินชาวเชียงรายประมาณ 300 คน เตรียมจัดกิจกรรมเพื่อเทิดทูนเกียรติประวัติของจ่าเอกสมาน กุนัน หรือจ่าแซม นักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ กองทัพเรือ ที่เสียชีวิตจากปฏิบัติการช่วยเหลือดังกล่าวรวมทั้งสร้างเป็นอนุสรณ์สถานเหตุการณ์ในพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน โดยจะใช้งบประมาณส่วนตัวทั้งหมดให้ด้วย

อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวว่าตนรู้สึกดีใจมากๆ เหมือนกับพี่น้องชาวไทยทุกคนและจากวิกฤติที่เกิดขึ้นใน จ.เชียงราย ในครั้งนี้จึงเห็นว่าควรสร้างเป็นโอกาส โดยตนมีโครงการจะสร้างอนุสาวรีย์ให้กับจ่าเอกสมานเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของความเสียสะลแก่ผู้อื่น เพราะคนไทยของเราหาคนที่เสียสละเช่นนี้ได้น้อย ตนในฐานะคนในพื้นที่จึงอยากทำให้คนเห็นความดีนี้ สำหรับการดำเนินการอันดับแรกคือเขียนรูปภาพความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 13 เมตรเท่ากับจำนวนเด็ก 13 คน ภาพจะเขียนเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ถ้ำหลวง การเข้าไปช่วยเหลือของฝ่ายต่างๆ รวมไปถึงชาวต่างประเทศจำนวนมากที่เดินทางไปช่วยด้วย

อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวว่าปัจจุบันภาพนี้ร่างแบบหรือสเก็ตไว้แล้ว ตนอยู่ระหว่างแก้แบบให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 วันนี้และบรรดาศิลปินจำนวนมากจะไปร่วมกันวาดด้วยสีซีเปียอย่งาดีทั้งหมด ณ สมาคมขัวศิลปะ ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย ภาพนี้จะเก็บเอาไว้ที่ถ้ำหลวงโดยจะสร้างเป็นห้องโถงใหญ่และยังจะมีรูปภสพอื่นๆ ประกอบด้วยโดยหากท่านใดมีรูปถ่ายที่สวยงามเกี่ยวกับเหตุการณ์ถ้ำหลวงสามารถนำมาร่วมได้ จุดดังกล่าวจะเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของถ้ำหลวงไปในที่สุด

“ไม่ต้องห่วงเรื่องงบประมาณ ผมไม่ใช่คนทำบุญเอาหน้าและจะร่วมกับลูกศิษย์ตนมากมายช่วยกันทำ มีศิลปินชาวเชียงรายจำนวนมากกว่า 300 คนจะช่วยกันทำงานนี้และผลานนี้ อยากให้ถ้ำหลวงเป็นแหล่งท่องเท่ยวใหม่มีคุณค่า ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นประวัติศาสตร์อนุสาวรีย์ มีรูปวาด รูปถ่ายสวยๆ ผมก็จะทำให้เป็นแหล่งศึกษา ธรรมชาติ ประวัติของจ่าแซม ปฏิมากรรมอนุสาวรีย์ของจ่าแซมขนาดใหญ่ 2 เท่าคนจริงด้วย” อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวและว่า

กระนั้นจุดที่จะสร้างอยู่ในเขตวนอุทยานดังนั้นหากภาครัฐจะเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยก็ได้ แต่ถ้าภาครัฐทำตนเกรงว่าจะช้าเกินไปตนจึงอยากจะทำให้ของตนไปเรื่อยๆ และจะขออนุญาตจากกรมวนอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินการเพราะสถานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแต่เห็นว่าเนื้อที่กว้างขวางไม่น่าจะมีปัญหา รูปแบบอาจจะอยู่ตรงจุดที่เข้าไปถ้ำแล้วมาชมหรือออกจากถ้ำแล้วมาชมอาคารดังกล่วาก็ได้ซึ่งก็คงต้องดูกันรายละเอียดอีกครั้ง แต่ตนยืนยันว่าสามารถทำให้สวยงามได้ก็จะเป็นประวัติศาสตร์ที่จารึกในเชียงรายไปตลอดยาวนานต่อไป


แหล่งข้อมูล : มติชนออนไลน์


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …