“ม.ราชภัฎโคราช-สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ” พาบุกอาณาจักรฟอสซิลจัดงาน “ฟอสซิลเฟสติวัล” ครั้งที่5 โชว์ความโดดเด่นของ “จีโอพาร์คโคราช” หวังบูมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา พร้อมเดินหน้าผลักดันให้เป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก ที่ชั้น3 เดอะมอลล์โคราช เริ่ม 18-21 ม.ค.นี้ที่ชั้น3 เดอะมอลล์โคราช

เมื่อวันนี้ 18 ม.ค. 62 ที่บริเวณด้านหน้าห้องเอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์นครราชสีมา “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ร่วมกับ “สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี” ได้จัดงาน “ฟอสซิลเฟสติวัล” ครั้งที่5 ขึ้น ภายใต้ชื่อ “ท่องเที่ยวจีโอพาร์คประเทศไทยแห่งที่ 2 @โคราช” โดยมีการจัดนิทรรศการ แสดงรูปภาพแหล่งขุดค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ กระดูกช้างดึกดำบรรพ์ การจำลองหลุมขุดค้นฟอสซิลไดโนเสาร์ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ 5 อำเภอ ที่ได้จัดตั้งเป็นพื้นที่อุทยานธรณีโคราช ซึ่งงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2562

ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี กล่าวว่า “สำหรับงานฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งนี้ทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 แล้ว โดยครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ชื่อ “ท่องเที่ยวจีโอพาร์ค ประเทศไทยแห่งที่2 @โคราช” เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ธรณีวิทยา ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติมาก”

“ทั้งนี้ภายหลังจากที่ จ.นครราชสีมาได้ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณี หรือจีโอพาร์คระดับจังหวัดไป เมื่อปี 2558 เมื่อปี 2561 ก็ได้รับการจัดตั้งเป็นจีโอพาร์คระดับประเทศขึ้น โดยครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบไปด้วย อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมือง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ นับเป็นจีโอพาร์คระดับประเทศแห่งที่ 2 ต่อจากจีโอพาร์คสตูล”

ผศ.ดร.ประเทือง กล่าวอีกว่า “โดยความโดดเด่นของ “จีโอพาร์คโคราช” นั้นมีอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก เป็นแหล่งที่ขุดค้าพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์สกุลใหม่ของโลกไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ขุดค้นพบซากช้างดึกดำบรรพ์สกุลใหม่มากถึง 10 สกุล จากทั้งหมด 50 สกุลทั่วโลก ซึ่งถือว่าที่นี่พบมากที่สุดในโลก”

“และประการที่ 2 ในพื้นที่ 5 อำเภอนี้ มีภูเขาที่มีลักษณะเป็นภูเขาอีโต้ หรือเควสต้า ไม่ต่ำกว่า 20 ลูก อันเป็นความพิเศษด้านธรณีวิทยา ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็จะเดินหน้าทำเรื่องเสนอต่อองค์การยูเนสโก เพื่อประกาศให้เป็นจีโอพาร์คระดับโลกต่อไป”

“ทั้งนี้หาก อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์คโคราช ได้รับการรับรองจากยูเนสโกตามโรดแม็ปในปี 2563 จังหวัดนครราชสีมาและประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก หรือ The UNESCO Triple Crown คือในพื้นที่ 1 จังหวัด มี 3 มรดกของยูเนสโก ประเทศที่ 4 ของโลก ต่อจากอิตาลี เกาหลีใต้และจีน ซึ่งจะทำให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอยากเดินทางมาท่องเที่ยวที่ จ.นครราชสีมา เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 4 เท่าของปัจจุบันเลยทีเดียว” ผศ.ดร.ประเทือง กล่าว


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …