“นครราชสีมา” เคยได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำตายสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เฉลี่ยถึงปีละ 60 คน ทว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังมีการถ่ายทอดหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดตามชุมชนต่างๆใน 32 อำเภอ ก่อนขยายไปทั่วทุกภูมิภาค ส่งผลให้ผู้ใหญ่และเด็กนับหมื่นชีวิตเกิดทักษะด้านความปลอดภัยทางน้ำ ตัวเลขเด็กจมน้ำตายจึงลดลงอย่างน่าพอใจ ทั้งหมดเป็นผลงานน่าชื่นชมของกลุ่มภาคประชาชนซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “ฮุก31” Credit : โพสต์ทูเดย์ ฮุก31 ทำงานกู้ภัยทางน้ำมากว่า 20 ปี ทั้งช่วยคนจมน้ำ งมศพ กู้เรือ ฯลฯ พบว่าสาเหตุการจมน้ำเสียชีวิตมาจากการตัวเด็กขาดทักษะการว่ายน้ำ การเอาชีวิตรอดในน้ำ ขาดความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ จึงคิดค้นหลักสูตรการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ระยะเวลา 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 วิชา คือ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหลายฝ่าย เช่น สำนักควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ชุมชน โรงเรียน องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายภาคประชาชน Credit : ฮุก 31 ทีม ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เพื่อเข้าไปจัดการเรียนการสอนให้แก่ชุมชนที่สนใจ จึงค่อยหางบประมาณและประสานงานเพื่อนัดวันเวลา หาสถานที่ พร้อมจัดการแหล่งน้ำอันเป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงในชุมชน ติดป้ายเตือน พร้อมสร้างสถานีเล็กๆ และติดตั้งอุปกรณ์ช่วยคนจมน้ำ เช่น แกลลอนพลาสติกขนาด 5 ลิตร ถุงเชือก กิ่งไม้ยาว 3 เมตร จากวัสดุรีไซเคิลที่ได้รับบริจาคมาจากชาวบ้านในชุมชน จากนั้นก็จะมีการสอนทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ฐานที่ 1 : สอนทำ CPR ช่วยเหลือคนจมน้ำที่ถูกต้อง แทนวิธีอุ้มพาดบ่าเพื่อกระแทกน้ำออกจากท้อง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดๆ Credit : โพสต์ทูเดย์ ฐานที่ 2 : สอนให้ช่วยเหลือคนตกน้ำด้วยการตะโกน-โยน-ยื่น โดยใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ที่สถานี Credit : โพสต์ทูเดย์ ฐานที่ 3 : เป็นทักษะการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด สอนลอยตัวง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ เช่น ขวดน้ำ และสอนให้ลอยตัวเปล่าโดยใช้ปอดเป็นเสื้อชูชีพ วิธีคือ ยืดอก ยกพุง ตัวไม่งอ ทำตัวสาบยๆ แหงนหน้ามองท้องฟ้า Credit : โพสต์ทูเดย์ การสร้างเครือข่ายครูอาสาสมัครเพื่อเข้าไปสอนตามชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศมาเป็นเวลา 5 ปี พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง สถิติลดลงจาก 60 รายต่อปี ในปี 2555 เหลือ 40 รายในปี 2556 เหลือ 32 รายในปี 2557 และในปี 2558 ก็ลดลงจนเหลือเพียง 21 ราย ขณะที่ภาพรวมทั่วประเทศจากปีละ 1,500 ราย เหลือเพียง 700 ราย ซึ่งถือว่าลดลงไปกว่า 50% และมีเป้าไว้ว่าจะลดลงให้เท่ากับศูนย์ในปี 2065 นี่จึงเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่อยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรับรู้และถามตัวเองว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เมืองไทยจะต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนว่ายน้ำให้เด็กๆ สามารถเอาชีวิตรอดได้จริง และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ในสถานการณ์ที่คับขัน …หรือต้องรอให้หนึ่งในนั้นเป็นบุตรหลานของท่าน แหล่งข้อมูล : โพสต์ทูเดย์ และไทยรัฐออนไลน์ ภาพประกอบ : โพสต์ทูเดย์ และฮุก 31 ทีม ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
เตรียมเที่ยวงานยักษ์ “เทศกาลเที่ยวพิมาย PHIMAI FESTIVAL 2024” วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2567 จัด 5 วัน 5 คืน
เริ่มแล้ว มหกรรมการเงินยิ่งใหญ่สุดในอีสาน โปรแรงดีที่สุดแห่งปี MoneyExpo2024Korat วันนี้ – 11 ส.ค. 67 เดอะมอลล์โคราช