พายุฤดูร้อน” จะเกิดขึ้นทุกปี และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms) พายุนี้จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน มักเกิดในราวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน โดยเกิดจากเมฆที่ก่อตัวขึ้นในทางตั้ง (แนวดิ่ง) ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมมคิวบูโลพิมพัส (Cumulomimbus) หรือเมฆรูปทั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะอากาศร้ายชนิดต่าง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก อากาศปั่นป่วนรุนแรง ทำให้มีลูกเห็บตกและอาจเกิดน้ำแข็ง

 

การรับมือป้องกันจากพายุฤดูร้อน และพายุลูกเห็บ มีดังนี้

  • สำรวจที่อยู่อาศัยและรีบทำการซ่อมแซมวัสดุที่ไม่มั่นคงให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อพายุลูกเห็บได้
  • หาที่หลบในบ้านหรือเพดานและหลังคาที่แข็งแรง และปิดประตู หน้าต่างให้สนิท เพื่อป้องกันการกระแทกและสิ่งของปลิวเข้ามาในบ้านเรือน
  • หากอยู่ในรถยนต์ควรจอดรถให้อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่น้ำอาจท่วมได้ ไม่ควรจอดรถใกล้ต้นไม้ใหญ่ เสาไฟ หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง
  • ในกรณีที่อยู่ในป่า ในทุ่งราบ หรือในที่โล่ง ควรคุกเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้าแต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น เนื่องจากพื้นเปียกเป็นสื่อไฟฟ้า และไม่ควรอยู่ในที่ต่ำ เพราะอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
  • ห้ามหลบบริเวณหลังคากระจกหรืออยู่ใกล้ประตูและหน้าต่างที่เป็นกระจก
  • ดูแลเด็กมิให้ออกไปเก็บลูกเห็บเล่น เพราะอาจได้รับอันตรายจากลูกเห็บตกได้
  • อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าทุกชนิด ไม่สวมใส่เครื่องประดับ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน เป็นต้น งดเว้นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดชั่วคราว เพราะในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มักเกิดฟ้าผ่า อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ดูแลสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอโดยเฉพาะสิ่งของที่อาจจะหักโค่นได้ เช่น หลังคาบ้าน ต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า

 

หากมีผู้บาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุฉุกเฉินให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยผู้บาดเจ็บที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากลูกเห็บจนทำให้อวัยวะที่ได้รับการกระทบกระเทือนนั้นฟกช้ำ โน หรือบวม และอาการไม่หนักมากให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยวิธีดังนี้

  1. ในระยะแรก 48 ชั่วโมง ให้ใช้นำเย็นหรือนำแข็งประคบวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 15 – 30 นาที
  2. ใช้มะนาวผสมดินสอพองพอกไว้
  3. ในระยะหลัง 48 ชั่วโมงมาแล้ว ให้ประคบและคลึงด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นที่มีความร้อนที่เราพอทนได้ วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที ก้อนเนื้อที่บวมและโนก็จะค่อยๆ ยุบลง

 

อย่างไรก็ตาม หากผู้บาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุและมีอาการเลือดออกไม่หยุด มีเลือดออกที่บริเวณ ศีรษะ หรือหน้าหู และจมูก และปวดศีรษะอย่างรุนแรง ขาดการทรงตัว แขน ขาขยับไม่ได้ อาเจียนอย่างต่อเนื่อง พูดไม่ชัด ต้องรีบแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพประกอบ : S.Borisov


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …