หลังสงกรานต์นี้ ไทย-จีนเตรียมเดินหน้าการประชุมคณะกรรมการร่วมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 10 ณ ประเทศจีน โดยมี “นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ” เป็นผู้นำทีม เพื่อหาข้อสรุปรายละเอียดของโปรเจ็กต์นำร่อง “กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา” ระยะทาง 250 กม. ใช้เงินลงทุนกว่า 1.7 แสนล้านบาท หลังเขย่าสูตรลงทุนใหม่เป็น “รัฐบาลไทย” ลงทุนงานโยธาและให้เอกชนไทยหรือจีนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP งานระบบและเดินรถ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีจากจีนและสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม.

 

 

กระทรวงคมนาคมเผยว่า โครงการรถไฟไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ยังคงเป็นความร่วมมือจีทูจี (รัฐต่อรัฐ) กับจีน ตามข้อตกลง MOU เพราะรัฐบาลอยากให้เกิดการเริ่มต้นในรัฐบาลชุดนี้ และตั้งเป้าให้เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศ จึงตัดสินใจจะลงทุนเอง เป็นการ back to basic ในขณะที่การประชุมครั้งที่ 10 จะต่อรองค่าก่อสร้างจีนจาก 1.9 แสนล้านบาท เหลือ 1.7 แสนล้านบาทตามที่ไทยศึกษาไว้ ส่วนจะเริ่มสร้างในปีนี้ได้หรือไม่ ก็ยังตอบไม่ได้

 

14609540651460954086l

Credit : ประชาชาติออนไลน์

 

ในอนาคตสำหรับเส้นทางที่เหลือ จากนครราชสีมา-หนองคายและแก่งคอย-มาบตาพุด อาจจะไม่ใช้ระบบของจีนทั้งหมด แต่เป็นการผสมอะไหล่และเทคโนโลยีจากยุโรป แล้วนำมาประกอบที่โรงงานจีนทีหลัง สำหรับรูปแบบการลงทุน จะมีทั้งจีทูจีและ PPP (รัฐ+เอกชน) ยังไม่สามารถระบุได้ขณะนี้ ว่าจะยังคงเป็นจีทูจีกับจีนเฉพาะงานราง อุโมงค์ ที่ไทยไม่มีเทคโนโลยี ส่วนรูปแบบ PPP อาจจะเป็นงานระบบและเดินรถ ให้เอกชนร่วมลงทุนสัดส่วน 30% หรือประมาณ 5.1 หมื่นล้านบาท หรือเฉพาะการพัฒนาที่ดินโดยรอบสถานี ขณะที่ “SPV-บริษัทร่วมทุน” อาจจะไม่มีก็ได้

 

รายละเอียดโครงการทุกอย่างจึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด เมื่อคนทำคิดตามไม่ทัน เพราะนึกไม่ถึงว่า “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” จะตัดบทกลางอากาศ กลับมาสู่ “ไฮสปีดเทรน” เวอร์ชั่นประชารัฐ มีรัฐ-เอกชนร่วมลงขันผลักดันโครงการกันในที่สุด

 

แหล่งข้อมูล : ประชาชาติออนไลน์
ภาพประกอบ : 45hq.com (ปก) และ ประชาชาติออนไลน์ (ภาพประกอบ)


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …