ปัจจุบันปัญหาล้นเมืองยังเป็นปัญหาที่ประเทศไทยยังแก้ไม่ตก เนื่องด้วยองค์ประกอบขยะที่เปลี่ยนแปลงไปจึงไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีฝังกลบอย่างที่เคยทำในอดีต ทำให้หลายหน่วยงานคิดค้นรูปแบบการบริหารจัดการขยะที่มีต้นทุนที่ต่ำลง แต่ประสิทธิภาพในการกำจัดขยะมากขึ้น รวมทั้งเป็นที่ยอมรับของชุมชนเพราะไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวน หรือมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาเศษขยะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ก็ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีจัดการขยะเพื่อแปรรูปเป็นพลังงานแบบครบวงจร มาตั้งแต่ปี 2549 โดยผ่านกระบวนการวิจัยมาเป็นลำดับ และได้รับการผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2558 โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สนับสนุนจัดตั้ง “ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากกากของเสียและขยะชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี” มูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท Credit : ผู้จัดการออนไลน์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นต้นแบบระบบผลิตพลังงานจากขยะแบบครบวงจร ซึ่งสามารถรองรับการจัดการขยะ 100 ตัน/วัน ที่ จ.นครราชสีมา ในลักษณะการกระจายศูนย์ผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ซึ่งมีศูนย์รองรับขยะมูลฝอย 25 ตัน/วัน จำนวน 4 แห่ง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใกล้เคียง ประกอบด้วย เทศบาลเมืองปักธงชัย เทศบาลเมืองสีคิ้ว เทศบาลตำบลพิมาย และเทศบาลตำบลด่านขุนทด จากนั้นจึงค่อยนำเชื้อเพลิงขยะ (RDF) มารวมศูนย์เพื่อผลิตพลังงานในรูปแบบไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ และน้ำมันสำเร็จรูปขนาด 20,000 ลิตร/วัน ซึ่งตลอดอายุโครงการจะสามารถกำจัดขยะได้ถึง 1.1 ล้านตัน และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) นำไปใช้แทนถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรมได้ถึง 155 ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) คิดเป็นมูลค่า 780 ล้านบาท Credit : ศูนย์ข่าวพลังงาน นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาออกแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยด้วยวิธีทางกลและชีวภาพ (SUT-MBT) ให้เหมาะสมต่อพื้นที่จริงของ อปท.อีก 21 แห่ง ที่ผ่านการพิจารณาจัดสรรงบประมาณปี 2559 ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ดังนั้น ปัจจุบัน มทส.จึงมีผลงานในการออกแบบระบบ SUT-MBT ให้แก่ อปท.และหน่วยงานต่างๆ จำนวน 35 แห่ง ทั่วประเทศ คิดเป็นขนาดรองรับขยะมูลฝอยจำนวน 1,880 ตัน/วัน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงพลังงานดังกล่าว ทำให้ มทส. สามารถรองรับการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย และ อปท.ในพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานผ่านการรับรอง และได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย Credit : ผู้จัดการออนไลน์ อีกทั้งเป็นที่ยอมรับจากภาคอุตสาหกรรม จนสามารถผลิตจำหน่าย และพัฒนาเป็นข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์เชื้อเพลิงขยะ (RDF) ที่ผลิตด้วยระบบการจัดการขยะมูลฝอยด้วยวิธีทางกลและชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUT-MBT) อย่างยั่งยืน” ระหว่าง มทส. กับบริษัท เอสซีไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด จ.สระบุรี ซึ่งเป็นโรงปูนซีเมนต์ ในเครือ SCG นำเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ไปใช้แทนถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรม ทำให้สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ให้แก่โรงปูนซีเมนต์ ราคา 1,000 บาท/ตันอีกด้วย Credit : ผู้จัดการออนไลน์ ทุกวันนี้ จ.นครราชสีมา มีปริมาณขยะมูลฝอยสะสมสูงถึง 760,825 ตัน และยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวิกฤติปัญหารุนแรงของจังหวัดนครราชสีมา ขณะที่ระบบการจัดการขยะของเทศบาลนครนครราชสีมา ไม่สามารถดำเนินการจัดการขยะได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในปี 2557 นครราชสีมา จึงผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจาก มทส.ให้เป็นพื้นที่นำร่องในการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจร แบบกระจายศูนย์เพื่อสร้างต้นแบบนำร่องใน จ.นครราชสีมา 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองปักธงชัย เทศบาลเมืองสีคิ้ว เทศบาลตำบลพิมาย และเทศบาลตำบลด่านขุนทด เพื่อสร้างต้นแบบนำร่อง ใน จ.นครราชสีมา ครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง ถึงปลายทาง โดยการนำเข้าสู่ระบบจัดการขยะด้วยวิธีทางกลและชีวภาพ (SUM-MBT) โดยแปรรูปขยะเป็นวัสดุปรับปรุงดิน และเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ซึ่งเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ที่ได้นั้นจะส่งไปยัง มทส.เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า และน้ำมัน Credit : ศูนย์ข่าวพลังงาน โดยมีการวางเป้าหมายในการจัดการขยะอย่างมียุทธศาสตร์ เน้นให้เกิดต้นแบบของการบูรณาการการจัดการขยะแบบครบวงจร และการใช้ประโยชน์จากขยะแบบบูรณาการในรูปแบบพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาโรงงานต้นแบบ และการบริหารจัดการเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป แหล่งข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน์ ภาพประกอบ : ผู้จัดการออนไลน์ และ ศูนย์ข่าวพลังงาน
เตรียมเที่ยวงานยักษ์ “เทศกาลเที่ยวพิมาย PHIMAI FESTIVAL 2024” วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2567 จัด 5 วัน 5 คืน
เริ่มแล้ว มหกรรมการเงินยิ่งใหญ่สุดในอีสาน โปรแรงดีที่สุดแห่งปี MoneyExpo2024Korat วันนี้ – 11 ส.ค. 67 เดอะมอลล์โคราช