เมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นประเด็นถกเถียงกันเกี่ยวกับการทวงคืนทางเท้า จนเกิดการประท้วงอย่างต่อเนื่อง จากพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอยที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ชี้แจงเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป

ในขณะที่ทางด้าน นายฐาปนา บุณยประวิตร นักผังเมือง/อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย/สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย (Smart Growth Thailand Institute) เคยระบุถึง “เกณฑ์ 8 ข้อในการยกระดับทางเท้าเพื่อสร้างความคึกคักมีชีวิตชีวาให้กับเมือง” เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558 ถึงเกณฑ์ต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทางเท้าให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลองมาดูกันว่าทั้ง 8 ข้อนี้จะมีประเด็นใดที่น่าสนใจและตรงใจคนใช้ทางเท้าอย่างเราบ้าง

 

1. ขนาดของทางเดินที่เหมาะสม : ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซนด้วยกัน คือ โซนวางสาธารณูปโภค (Service Zone) เช่น ม้านั่ง และถังขยะ, โซนไว้เดินอย่างเดียว (Free Zone) สำหรับประชาชนทั่วไปใช้สัญจรไปมาด้วยการ “เดิน” และโซนหน้าอาคารเพื่อปรับเปลี่ยนกิจกรรม (Transition Zone) ใช้ประโยชน์และตกแต่งหน้าอาคาร การเข้าใจความสัมพันธ์ของทั้งสามองค์ประกอบนี้คือกุญแจสำคัญสำหรับการออกแบบทางเท้าให้มีขนาดที่เหมาะสม

 

286-01
Credit : Luísa Schardong/EMBARQ Brasil

 

2. คุณภาพของผิวทาง : วัสดุที่ใช้ทำทางเท้าต้องมีความแข็งแรง คงทน กันลื่น และที่สำคัญนักออกแบบจะต้องตระหนักถึงวิธีการก่อสร้างที่ถูกต้องและคุณภาพของแรงงานฝีมือที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าการทางเท้าที่ออกมานั้นจะเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อการใช้งาน

286-02
Credit : Luísa Zottis/EMBARQ Brasil

 

 

3. ประสิทธิภาพการระบายน้ำฝน : เพราะท้ายที่สุดแล้วต่อให้ทำถนนดีแค่ไหน หากไม่สามารถระบายน้ำที่ท่วมขังได้ ประชาชนก็ต้องเบี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นได้ 

286-03
Credit : Glen Dake via TheCityFix Brasil

 

4. การออกแบบให้ทุกคนใช้ได้ : ทางเท้าคือพื้นที่สาธารณะจึงควรสามารถเข้าถึงการใช้งานของประชาชนที่มีความแตกต่างและมีข้อกำจัดได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้รถเข็น ผู้ใช้ไม่ค้ำ สตรีตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และอื่นๆ ที่ต้องการความคล่องตัวเป็นพิเศษ การออกแบบทางเท้าที่ดีจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องซัพพอร์ตผู้ใช้ทางเท้าทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพื่อให้แน่ใจว่าทางเท้าที่ออกมาจะสามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง

286-04
Credit : Gilmar Altamirano via TheCityFix Brasil

 

5. เป็นโครงข่ายทางเดิน : ทางเดินเท้าที่ดีต้องสามารถเชื่อมต่อกับถนนหรือสามารถเชื่อมไปยังสถานีหรือโหมดการขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้อย่างสะดวกสบายและความปลอดภัยด้วยการสร้างทางลาดโค้งเพื่อปกป้องอุบัติเหตุจากยวดยานอื่นๆ

286-05
Credit : Marta Obelheiro/EMBARQ Brasil

 

6. เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดึงดูดใจให้คนมาใช้ : เนื่องจากถนนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสภาพแวดล้อมในตัวเมือง เพราะฉะนั้นความสวยงามของทางเท้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากทางเท้ามีการจัดอย่างสวยงามก็จะช่วยดึงดูดให้ผู้คนหันมาใช้ทางเท้ากันมากขึ้นเพื่อเป็นการออกกำลังกายและลดปัญหาจราจรที่ติดขัดไปในตัว

286-06
Credit : USP Cidades via TheCityFix Brasil

 

7. ใช้ได้ตลอดทั้งวัน : ทั้งกลางวันกลางคืนหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ ทางเท้ามักเปิดให้คนเดินเท้าเข้าไปใช้บริการอยู่เสมอ แต่จะมีซักกี่คนที่ทิ้งความปลอดภัยจากรถส่วนตัวเพื่อไปเดินอยู่บนทางเท้าที่มีภัยอันตรายซุกซ่อนอยู่ การนำกลยุทธ์ที่เพิ่มความปลอดภัยในเชิงบวก เช่น การติดกล้องวงจรปิด หรือเพิ่มสายตรวจ จะช่วยให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจในการเดินบนทางเท้ามากขึ้น

286-07
Credit : Mariana Gil/EMBARQ Brasil

 

8. มีป้ายบอกทิศทางที่ชัดเจน : เช่นเดียวกับคนใช้คนใช้ถนน คนใช้ทางเท้าก็ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบันและเส้นทางที่สามารถเข้าถึงด้วยการเดินหรือขนส่งมวลชน จากที่ตั้งของป้ายไปยังเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

286-08
Credit : Charlotte Gilhooly via TheCityFix Brasil

 

แหล่งข้อมูล : สมาคมการผังเมืองไทย และ TheCityFix
ภาพประกอบ : TheCityFix

 


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …