นครราชสีมา วันนี้ (24 ก.พ. 62) เวลา 14.50 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้นที่แถลงผลวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ-ดิน-โคลน ที่เก็บตัวอย่างมาทดสอบด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการกองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี หลังเกิดปรากฏการณ์โคลนพุ ที่บ้านหนองกุงน้อย ตำบลโคกกระเบื้อง อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา

โดยนายนิวัติ มณีขัติย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า โคลนพุแห่งนี้ เป็นเนินดินนูนสูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 เมตร ลึกประมาณ 5-6 เมตร มักพบในแอ่งที่เกษตรกรใช้ทำการเกษตรหรือในทางน้ำและที่ราบน้ำท่วมถึงในภาคอีสาน ดินรอบบริเวณจะอ่อนนิ่มไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก บริเวณศูนย์กลางจะมีปล่องขนาดเล็กมีน้ำไหลผุดออกมาพร้อมกับดินเหนียวปนดินทรายเมื่อแห้งแล้วจะแตกระแหง เมื่อแห้งแล้วจะพบคราบเกลือสีขาวส่วนน้ำที่ไหลออกมาจะมีความเป็นด่างสูง ส่วนสาเหตุของการเกิดโคลนพุนั้นเกิดจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องคือ 1.มีแรงดันใต้ดินสูง 2.มีรอยแยกในชั้นดินที่ยอมให้แรงดันน้ำไหลสู่ผิวดินได้ และ 3.มีกลุ่มแร่ที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วเกิดการพองตัวแล้วไหลขึ้นมากับน้ำ

ทางด้านนางอัปสร สะอาดสุด ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี ได้เก็บตัวอย่างน้ำและโคลนมาทดสอบพบว่า ตัวอย่างน้ำผิวดินมีความเป็นด่างสูง(pH9.77)โลหะหนัก แคดเมียม โครเมียม ตะกั่วต่ำกว่ามาตรฐาน แต่มีค่าสารหนูเกินมาตรฐานไม่ควรนำมาดื่ม ส่วนตัวอย่างโคลนมีค่าความเป็นด่างสูง(pH9.20) หากสัมผัสผิวหนังอาจเกิดการระคายเคืองได้ ส่วนค่าโลหะหนัก ไม่เกินมาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม

 


แหล่งข้อมูล : Innnews


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …