วันที่ 17 มกราคม ภายหลังจากที่สถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักทั้ง 5 แห่ง ของจังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณกักเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 43 เปอร์เซ็นต์ของความจุกักเก็บ ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เหลือน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ทางสำนักงานชลประทานที่ 8 ต้องมีการขอความร่วมมือกับเกษตรกรในการงดเพาะปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำที่เหลืออยู่นั้นจะต้องกักเก็บไว้ในการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย

นายสำรวย ทีเกาะ อายุ 70 ปี ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำเขื่อนข่อยงาม หมู่ 8 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสี มาเปิดเผยว่า เดิมทีตนเองนั้นจะทำการเพาะปลูกข้าวนาปี และเมื่อเสร็จจากหน้าข้าวนาปีก็จะเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปรัง แต่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางชลประทานได้มีการขอความร่วมมือให้เกษตรกรนั้นงดปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากสถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอที่จะจัดส่งในการเพาะปลูกข้าวนาปรัง อีกทั้งหากเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวนาปรังก็จะต้องแบกรับภาระความเสี่ยงที่ต้นข้าวจะยื่นต้นตาย เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในการหล่อเลี้ยงต้นข้าว ดังนั้น จึงหันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วฝักยาว และผักสวนครัว เพื่อเป็นการหารายได้เสริมในช่วงที่ไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งก็คิดว่ารายได้จากการขายผักสวนครัวนั้นก็พออยู่ได้

ทั้งนี้ นายสำรวยกล่าวว่า ตนเองในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำเขื่อนข่อยงาม ก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ให้มีการงดการเพาะปลูกข้าวนาปรังหันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อจะได้ช่วยกันรักษาปริมาณน้ำกักเก็บภายในเขื่อนไว้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก

 

logo-matichon-classicแหล่งข้อมูล : มติชนออนไลน์


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …