พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เดินทางมายังศาลาอเนกประสงค์ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพบปะกับประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และตอบข้อซักถามจากประชาชนในพื้นที่ ในโอกาสประชุม ครม. สัญจร ระหว่างวันที่ 21-22 สิงหาคม 2560

เมื่อเดินทางถึงนายกรัฐมนตรีได้รับชมวีดิทัศน์ “ทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยเสนอว่าต้องฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายใน โดยเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้า เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมเกษตร และยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรม พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร หนองคาย นครพนม และแนวระเบียงเศรษฐกิจ ได้แก่ EWEC (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร) และ เหนือ-ใต้ (ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) และควรใช้โอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับพื้นที่ EEC เพื่อพัฒนาเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ ของภาค ซึ่งจะช่วยลดปัญหา

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ภาคอีสานเป็นภาคที่มีความสำคัญ การมาประชุม ครม. ครั้งนี้ได้นำคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์และผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ นายกรัฐมนตรีเห็นว่าการแก้ไขปัญหาทั้งหลายให้หมดไปอย่างยั่งยืนต้องใช้ความร่วมมือ ใช้พลังจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สำคัญคือพี่น้องประชาชน พวกเราทุกคนต้องร่วมมือกัน รัฐบาลได้วางรากฐานอนาคตในอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ “มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” โดยน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสู่การปฏิบัติ 3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

การทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการทั้งระบบ การจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งเสริมสินค้า OTOP ให้ไปไกลในตลาดโลก ไม่เพียงแต่ด้านเกษตรกรรม รัฐบาลยังส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมโดยกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เร่งสถาบันการศึกษาผลิตแรงงานมีฝีมือเพื่อป้อนตลาดแรงงานในอนาคต ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนารวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารองรับการค้า การลงทุน การขนส่งและเชื่อมโยงภูมิภาค CLMVT โครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในหมู่บ้าน สำหรับเรื่องที่ดินป่าไม้นั้นรัฐบาลพยายามฟื้นฟูป่าพร้อมทั้งหยุดยั้งการบุกรุกตลอดจนสร้างป่าเพิ่มเพื่อช่วยรักษาระบบนิเวศน์ให้อุดมสมบูรณ์

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ที่ผ่าเมืองโคราชเป็นสองส่วนนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าโครงการนี้เป็นเรื่องสำคัญและจะช่วยสร้างความเจริญให้กับพี่น้องชาวโคราชในอนาคต อย่างไรก็ดีการยกระดับรถไฟนั้นต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า 2,600 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและพยายามอย่างเต็มความสามารถที่จะลดผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวโคราช

การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม รัฐบาลเร่งดำเนินการ ในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนชาวอีสานให้ได้รับความสะดวกในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพที่เหมาะสม โดยต้องทำให้การอยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่มีความเท่าเทียมกัน กระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำสร้างโอกาสในอาชีพในถิ่นฐานบ้านเกิด ลดช่องว่างรายได้ และกระจายรายได้ที่เป็นธรรม

รัฐบาลตั้งเป้าหมายการพัฒนาอีสานสู่มิติใหม่ “ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ด้วยการผลักดันและพัฒนาในด้านต่างๆ ให้เกิดผลลัพธ์ชัดเจนมากขึ้นคือ 1. การบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน 2. การแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 3. การสร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในการนี้นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ทุกโครงการให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ประชาชนชาวอีสานได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งชื่นชมทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อพี่น้องประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายวิเชียร จันทรโนทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรี ว่าในช่วง 3 ปีภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจังหวัดนครราชสีมาตามงบยุทธศาสตร์จังหวัดกลุ่มจังหวัดและงบธุรกิจยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2560 รวมเป็นเงินประมาณ 1,862 ล้านบาทและมีโครงการเพิ่มเติมได้แก่โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลหรือตำบลละ 5 ล้านบาทจำนวน 4,480 โครงการงบประมาณ 1,317 ล้านบาทโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐหรือหมู่บ้านละ 200000 บาทจำนวน 4,196 โครงการงบประมาณรวม 745 ล้านบาทโครงการหมู่บ้านละ 250,000 บาท จำนวน 4,026 โครงการงบประมาณ 934 ล้านบาทโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 361 ชุมชน จำนวน 1,070 โครงการงบประมาณ 832 ล้านบาทโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐการเพิ่มรายได้ด้วยอาชีพที่มีมูลค่าสูงที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐ

ที่สำคัญรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์มีนโยบายในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในระบบโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ชนิดที่ไม่มีรัฐบาลไหนทำได้เมื่อก่อนเป็นการวางพื้นฐานศักยภาพของประเทศที่จะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อประกันให้เศรษฐกิจของประเทศในแต่ละพื้นที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคตโดยมีโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาวงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาทซึ่งมีโครงการสำคัญได้แก่โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 หรือมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน- นครราชสีมาโครงการรถไฟทางคู่ชุมทางจิระ- ขอนแก่นชุมทางจิระอุบลราชธานีและชุมทางมาบกะเบา จิรโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯหนองคายระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมาระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่จะลดเวลาเดินทางจากกรุงเทพมาถึงนครราชสีมาจาก 4 ถึง 6 ชั่วโมงเหลือ 1.30 ชั่วโมง

ทั้งนี้โครงการต่างๆที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณลงมาในพื้นที่ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ซึ่งช่วยส่งเสริมให้มีการกระจายความเจริญไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นที่สำคัญนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาตรวจราชการในจังหวัดนครราชสีมาถึง 2 ครั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ได้อนุมัติงบประมาณทั้งสิ้น 931 ล้านบาทให้จังหวัดดำเนินรวม 7 โครงการเช่นโครงการปรับปรุง emergency spilway เขื่อนลำพระเพลิงโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลบัวใหญ่โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวบรวมและแปรรูปข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ของสหกรณ์การเกษตรพิมายโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ในเขตพื้นที่นำร่องระยะสั้นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาการผลิตอ้อยตลอดจนโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพโอทอปซึ่งโครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและเกษตรกรทั้งด้านการเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่โดยเฉพาะโครงการปรับปรุง emergency find way เขื่อนลำพระเพลิงสามารถเพิ่มความจุกักเก็บน้ำเขื่อนลำพระเพลิงได้อีก 50 ล้านลบ.ม. เพิ่มขึ้นเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 18,000 ไร่อีกทั้งยังช่วยป้องกันน้ำท่วมในเขตอำเภอปักธงชัยอำเภอโชคชัยและเขตเศรษฐกิจเมืองนครราชสีมารวมถึงเป็นแหล่งน้ำไผ่ประปาให้อำเภอปักธงชัยอำเภอโชคชัยและอำเภอเมืองนครราชสีมาในอนาคต

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิงอำเภอปักธงชัยได้อนุมัติโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบบริเวณลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่างกรอบวงเงิน 1669 ล้านบาทโดยในปัจจุบันกรมชลประทานได้รับงบประมาณและดำเนินการแล้วจำนวน 734 ล้านบาทอยู่ระหว่างการขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีก 900 ล้านบาทซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมอย่างยั่งยืนส่งผลดีต่อพื้นที่เกษตรในเขตชลประทาน 25000 ไร่พื้นที่เกษตรที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 120000 ไร่ในพื้นที่ 5 อำเภอได้แก่อำเภอโนนไทยอำเภอ พระทองคำอำเภอด่านขุนทดอำเภอโนนสูงและอำเภอเมือง

นับได้ว่าในระยะเวลา 3 ปีภายใต้รัฐบาลชุดนี้ได้บริหารประเทศถือว่าเป็นห่วงสำคัญแห่งการสร้างพื้นฐานความแข็งแกร่งของประเทศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนจะเห็นได้ว่าในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเห็นได้จากปี 2557 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดอยู่ที่ 253,974 ล้านบาทและปี 2558 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเพิ่มขึ้นมาเป็น 264,964 ล้านบาทเติบโตจากปีก่อน 4.3 เปอร์เซ็นต์รายได้ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวอยู่ที่ 1,600 บาท หรือเพิ่มขึ้น 4551 บาทเติบโตจากปีก่อนหน้า 4.5 เปอร์เซ็นต์และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ถึง 2556 ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อติดตามผลการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลร่วมถึงจะได้พบประชาชนเพื่อติดตามรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทั้งปัญหาจราจรปัญหาการเกิดเส้นทางการบินการบริหารจัดการขยะและน้ำเสียปัญหาน้ำท่วมเมืองและขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเมืองปัญหาค้าส่งค้าปลีกรายย่อยหรือโชห่วยการเพิ่มสวนสาธารณะแห่งที่ 2 และปลูกป่าในเมืองตลอดจนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบในพื้นที่

จังหวัดนครราชสีมามุ่งมั่นที่จะแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยการน้อมนำหลักทฤษฎีและแนวทางการแก้ไขปัญหาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตโดยมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยการทำงานร่วมกันในลักษณะประชารัฐพัฒนาสินค้า OTOP เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชนส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และส่งเสริมการเลี้ยงโคกระบือให้มากยิ่งขึ้นมีการพัฒนาการเรียนแบบดั้งเดิมเป็นการเรียงโดยใช้นวัตกรรมผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นแนวทางซึ่งจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรขึ้น

การเดินทางมาติดตามผลการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและติดตามรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนเช่น 2 ครั้งที่ผ่านมาและทำให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

 

แหล่งข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …